Tuesday, October 21, 2008

การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 2 ปี


แผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (พื้นผิวสร้างสรรค์)

ความคิดรวบยอด
เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม
เนื้อหา
เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
กิจกรรม
1. ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2.ครูสนทนากับเด็กและให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสที่ฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
2. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
3. ตรูให้เด็กบอกลักษณะของพื้นผิวที่เด็กได้สัมผัส
: เด็ก ๆ ค่ะสิ่งที่เด็กได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคยเห็น
สื่อ
1.กล่องอะไรเอ่ย
2.กระดาษ
3.สี
4.ลูกมะนาว
5.ลูกมะกรูด
ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1.ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับเด็กก่อนการทำกิจกรรม
2. ครูจะต้องใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ ไม่ใช่เสียงเรียบจนเกินไป
3.สื่อที่นำมาต้องอยู่ในระดับสายตาเด็กไม่อยู่ต่ำจนเกินไปเพราะทำให้เด็กมองไม่เห็น
4.ต้องให้เด็กได้เล่าสิ่งที่เด็กวาดรูป
5.ต้องเตรียมความพร้อมมากกว่านี้ก่อนทำการสอน6. ฝึกการเก็บเด็กเพราะยังเก็บเด็กไม่ค่อยอยู่

แผนการสอนกิจกรรมกลางแจ้ง (พื้นผิวสร้างสรรค์)

จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง
โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์ก่อนจากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบมาติดไว้คู่กับแผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อ
1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ควรเพิ่มการทรงตัวโดยให้มีรอยมือ
2. อธิบายขั้นตอนให้ชัดเจนเพราะเด็กยังเล็ก
3.สื่อต้องเพิ่มความแข็งแรง ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้
4.กระตุ้นให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากกว่านี้
5.ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรม

คู่มือการสร้างสื่อ

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษแข็งสีต่าง ๆ 6 แผ่น
2. วัสดุพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกัน
3. สังกะสี
4. แม่เหล็ก
5. หนามเตย
6. ดินสอ 1 แท่ง
7. กรรไกร 1 ด้าม
8. กาวยู่ฮู 3 หลอด
9. ไม้บรรทัดขนาด 12 นิ้ว 1 อัน
10. คัตเตอร์ 1 อัน
11.สติกเกอร์สีขาว 1 แผ่น
12. ผ้ามัน 1 ผืน
13. เข็ม ด้าย

วิธีทำกล่องพื้นผิวสร้างสรรค์
1. ตัดกระดาษแข็งทำเป็นกล่องสีเหลี่ยมลูกเต๋าโดยให้มีขนาดที่เท่ากันทุกด้าน มีขนาดด้านละ 6 เซนติเมตร ตัดให้เหมือนกันทั้ง 6 กล่องตามสีของกระดาษ
2. ประกอบกล่องโดยใช้ หนามเตยยึดตามมุมแต่ละด้านของกล่องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ
กล่อง
3. นำสังกะสี ติดที่ด้านล่างของแต่ละด้านของกล่องแล้วนำสติกเกอร์สีขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วติดทับบนสังกะสีเพื่อเป็นที่ติดแผ่นคำตอบ ติดสังกะสีทุก ๆ ด้านของกล่อง

วิธีการทำโจทย์พื้นผิวสร้างสรรค์
1. หาวัสดุที่มีพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีคุณลักษณะ นุ่ม แข็ง เรียบ และขรุขระ เช่น กระดาษทราย เศษผ้าที่มีผิวต่างกัน ปลอกหุ้มผลไม้ ไม้ เป็นต้น
2. นำพื้นผิวมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อทำเป็นแผ่นโจทย์และแผ่นคำตอบ โดยทำอย่างละ 2 ชุด
3. นำแผ่นโจทย์มาติดที่ด้านบนของกล่องเหนือแผ่นสังกะสี ติดทุกด้านแต่ แต่ละด้านพื้นผิวไม่เหมือนกัน
4. ใช่แม่เหล็กติดที่ด้านหลังของแผ่นคำตอบ
5. นำผ้ามันมาตัดและเย็บเป็นถุงที่มีที่หูรูดสำหรับใส่ แผ่นคำตอบ
คู่มือการใช้สื่อ
ชื่อสื่อ พื้นผิวสร้างสรรค์
เกมพื้นผิวสร้างสรรค์เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวสัมผัสการเปรียบเทียบพื้นผิวที่แตกต่างกัน รวมถึงพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของเด็กส่งเสริมทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กด้วย
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักพื้นผิวที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผิวเรียบ ขรุขระ นิ่ม และแข็ง


กิจกรรมเด็ก
1. เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
2. เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวของรอยเท้า
3. เด็กนั่งแล้วกระดึ๊บถอยหลังไปข้างหน้า
4. เด็กสัมผัสพื้นผิวจากแผ่นโจทย์ที่ติดอยู่ที่กล่อง
5. เด็กสัมผัสพื้นผิวที่อยู่ในถุงผ้าแล้วนำมามาติดให้ถูกต้องตรงกับแผ่นโจทย์นั้น
6. ให้ครูตรวจสอบความเรียบร้อย


กิจกรรมครู
1. ครูอธิบายสื่ออุปกรณ์ที่ครูนำมาให้เด็กฟัง
2. ครูให้เด็กรู้จักพื้นผิวในลักษณะต่าง ๆจาก สื่อที่ครูนำมา
3. ครูอธิบายกติกาการเล่นให้เด็กเข้าใจก่อนการเล่น
4. ครูคอยดูแลความปลอดภัยในขณะที่เด็กทำกิจกรรม
5. ครูคอยตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว

กิจกรรมเสริม
กิจกรรมที่ 1
สังเกตฉันหน่อย
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
2. ครูแจกแผ่นพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกันให้แต่ละกลุ่ม
3. เด็กแต่ละกลุ่มสังเกตลักษณะพื้นผิวที่ได้รับ
4. ให้เด็กวิ่งไปหยิบแผ่นภาพของสิ่งของที่มีลักษณะเหมือนกับพื้นผิวของกลุ่มตนเอง
5. กลุ่มไหนหยิบได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กรู้จักการจัดกลุ่มของสิ่งของกับพื้นผิวที่ มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
ระยะเวลาในการเล่น 30 นาที


กิจกรรมที่ 2 ต่อได้ต่อ
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูแจกกล่องพื้นผิวให้กับเด็ก
3. เด็กช่วยกันต่อกล่องขึ้นไปให้สูงที่สุดกลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรม รู้จักใช้สมาธิและการจำกัดระยะเวลาในการเล่น 30 นาที

กิจกรรมที่ 3 พื้นผิวช่วยทรงตัว
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูติดพื้นผิวไว้ที่พื้น
3. ให้เด็กเคลื่อนไหวทรงตัวบนพื้นผิวที่ครูติดไว้ โดยให้สัมผัสทั้งเท้า และมือ เคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
4. กลุ่มไหนไปถึงจุดหมายก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้สัมผัสพื้นผิว และได้เคลื่อนไหวร่างกาย
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 4 ฉันอยู่ตรงไหน
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. นำคำและสัญญาลักษณ์ติดไว้ คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ โดยติดไว้ที่กระเป๋าผนัง
3. ให้เด็กสังเกตลักษณะของพื้นผิวที่มีอยู่ในกลุ่มว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
4. ให้เด็กนำพื้นผิวไปติดให้ตรงกับคำและสัญญลักษณ์บนกระเป๋าผนังให้ถูกต้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ทักษะในการสังเกต จัดกลุ่มของพื้นผิวที่แตกต่าง
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 5 สัมผัสตรงจุด
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. ครูให้เด็กสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในห้อง
2. ครูชูป้ายลักษณะของพื้นผิว
3. ให้เด็กวิ่งไปสัมผัสสิ่งของที่อยู่ภายในห้องโดยสิ่งของนั้นจะต้องมีพื้นผิว เหมือนกับป้ายที่
ครูชูขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ทักษะในการสังเกตสิ่งต่าง รู้จักระยะของการเคลื่อนที่ ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ความคิดรวบยอด

เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

เนื้อหา
เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1.ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2. ครูสนทนากับเด็กแล้วให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักกับพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมือเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
: เมือเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
3. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
: เด็กค่ะสิ่งที่เด็ก ได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคย เห็น
สื่อ
-กล่องอะไรเอ่ย
- กระดาษ
-สี
- ลูกมะนาว
-ลูกมะกรูด


ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2 สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3. สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นใน
ชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ
2. สื่อที่นำมาต้องวางในระดับสายตาให้เด็กเห็นได้ชัดเจน

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และ
การนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1.. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์
ก่อน จากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบ มาติดไว้คู่
กับ แผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความ สะอาดร่างกาย

สื่อ
1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการ เดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้
และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอย หลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบ พื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำ กิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ครูต้องกระตุ้นให้เด็กสนใจมากกว่านี้
2. ในการทรงตัวควรเพิ่มรอยมือ เด็กจะได้เคลื่อนไหวทั้ง
ตัว
3. สื่อต้องแข็งแรงมากกว่านี้ ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้



ภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ภาพที่ 1 เด็กสัมผัสแก้มของเพื่อน

ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวที่มีลักษณะ นิ่มกับแข็ง โดยครูให้เด็กสัมผัสแก้มของตนเองเพราะแก้มมีลักษณะที่นิ่ม และให้เด็กสัมผัสที่ฟันของตนเอง เพราะฟันมีลักษณะที่แข็ง เด็กณรู้จักการสังเกตเเละเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของพื้นผิว ที่นิ่มและแข็ง



ภาพที่ 2 เด็กคลำวัตถุพื้นผิวที่ซื่อนอยู่ในกล่อง

ครูนำกล่องคำพื้นผิวออกมาแล้วซ่อนวัตถุพื้นผิวไว้ในกล่องโดยที่เด็กไม่รู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรอยู่ ครูให้เด็กได้คลำทีละคร เด็กมีสีหน้าที่สงสัย และรู้สึกตื่นเต้นเมื่อสัมผัมผัสสิ่งของที่อยู่ในกล่อง



ภาพที่ 3 ครูเฉลยวัตถุพื้นผิวที่อยู่ในกล่องง

ครูเฉลยวัตถุพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่องว่าคืออะไร ครูเฉลยสิ่งของทีละอย่างโดยเด็ก ๆ ให้ความสนใจ และลุ้นมากว่าสิ่งของในกล่องนั้นคืออะไร สิ่งของอย่างแรก คือ ลูกมะนาว สิ่งของอย่างที่ 2 คือ ลูกมะกรูด เด็กเปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นผิวที่มีลักษณะ เรียบ ของลูกมะนาว และพื้นผิวที่มีลักษณะขรุขระ ของลูกมะกรูด

ภาพกิจกรรมกลางแจ้ง


ภาพที่ 4 เด็กเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิว

เด็กเล่นกิจกรรมในด่านแรก คือการเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิวต่าง ๆ เด็กสามารถเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิวได้ดีทุกคน และสามารถผ่านด่านแรกไปได้ ทำให้เด็กได้พัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่ในขณะเดินทรงตัว และได้สัมผัสกับพื้นผิวในขณะที่เด็กสัมผัสบนพื้นผิวที่ที่แตกต่างกัน


ภาพที่ 5 เด็กนั่งกระดึ๊บถอยหลัง

เด็กเล่นกิจกรรมในด่านที่ 2 คือการนั่งแล้วกระดึ๊บถอยหลังไปข้างหน้าเด็ก ทุก คนสามารถทำได้โดยแข็งกันกระดึ๊บอย่างเร็ว เป็นการส่งเสริมการใช้ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของเด็ก



ภาพที่ 6 เด็กจับคู่พื้นผิวที่เหมือนกัน

ด่านสุดท้ายเด็กนั่งทำกิจกรรมพื้นผิวสร้างสรรค์ โดยการคลำพื้นผิวจากแผ่นโจทย์ที่อยู่บนกล่องพื้นผิวและเอามือล่วงไปคลำพื้นผิวที่อยู่ในถุงผ้า จากนั้น นำพื้นผิวต่อต่อให้ตรงกับแผ่นโจทย์ ให้ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกก็จะ เปลี่ยนพื้นผิวใหม่ เด็กทุกคนสามารถจับคู่ได้ถูกต้องในทุกด้าน แต่ว่าสื่อไม่ค่อยแข็งแรงทำให้แผ่นคำตอบหลุดบ่อย เด็กต่ออย่างตั้งใจเป็นการฝึกสมาธิ ส่งเสริม ความคิดของเด็กในขณะทำกิจกรรม ทำให้เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวมากขึ้น รู้จักการเปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นผิว