Wednesday, December 24, 2008

บทที่ 1
สภาพแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
เด็กและเยาวชนนับว่ามีความสำคัญมากในการที่จะเป็นกำลังเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องในทิศทางที่ถูกต้องและสืบทอดความดีงามต่าง ๆ ของสังคม เด็กจึงควรได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ดั้งนั้นการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปูพื้นฐานในชีวิตให้กับเด็ก ให้มีโอกาสได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้นักการศึกษาและนักจิตวิทยาด้านเด็กต่างก็เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพราะเป็นช่วงที่สำคัญของชีวิต เด็กจะสามารถพัฒนาความสามรถด้านการเรียนรู้ได้มากที่สุด และหากได้รับการเสริมสร้างจากสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ทั้งเรื่องทั่ว ๆ ไป และเรื่องเฉพาะได้เป็นอย่างดี นักการศึกษาปฐมวัยที่มีชื่อเสียงอาทิ เช่น มอนเตสเซอรี่ เพียเจย์ บรูเนอร์ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการเรียนรู้ของเด็ก ในทุก ๆ เรื่อง เกิดจากการที่เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์ทั้งกับบุคคลและสื่อวัสดุ ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวการที่เด็กจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆได้นั้น นอกจากจะเกี่ยวข้องกับขั้นพัฒนาการตามวัยของเด็กเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการจัดโปรแกรมและสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กได้มีการกระทำเพื่อให้เกิดประสบการณ์โดยตรงต่อเด็ก และ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาความสามรถและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินงานให้เหมาะสม เพราะการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้งาน การจัดการศึกษาปฐมวัย ประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ความหมายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
สภาพแวดล้อม ตามความหมายทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 หมายความถึง “ธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่” ความหมายที่จะกล่าวถึงธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน ธรรมชาติที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือทรัพยากรธรรมชาติก็ได้
เบญจา แสงมลิ (2531 : 228) ได้ให้ความหมายของคำว่าสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาด้วยว่า “สถานศึกษาเด็กปฐมวัยเป็นสถานที่ที่จัดให้เด็กปฐมวัยอยู่รวมกัน และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นสุข สะดวก สนุก สบายและปลอดภัย สภาพแวดล้อมจะมีทั้งสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน”
อารมณ์ สุวรรณปาล (2537: 73 ) สรุปความหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยว่า เป็นการจัดสภาพต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ทั้งภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้รับประสบการณ์จาการอยู่ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข สนุก สบายสะดวก ปลอดภัยตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
Report of the Task Forec on Early Childhood Education (1927 : 27) ได้ให้ความหมายของคำว่า สิ่งแวดล้อม (Environment) ไว้ว่า สิ่งแวดล้อมคือ สิ่งที่กระตุ้นให้ความสะดวกสบาย และให้ความเป็นเด็กแก่เด็กด้วยบล็อก บ่อทราย เครื่องเล่นอื่นๆ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะพัฒนาเด็กในทุก ๆ ด้าน คือร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
กอร์ดอนและบราวน์ ( Gordon and Browne.) 1989 : 236-237 ) ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมของสถานพัฒนาปฐมวัยว่า สภาพแวดล้อมนั้นเป็นผลรวมระหว่าวัตถุและบุคคลที่ได้รวมกันสร้างสรรค์เนื้อที่ให้แก่เด็กและผู้ใหญ่ได้เล่นและทำงานร่วมกัน ร่วมทั้งมวลประสบการณ์ บรรยากาศ ความรู้สึก การติดต่อสื่อสารกัน และเป็นภาพของการจัดสภาพความสอดคล้องกันของกิจกรรมที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องกันตลอดวัน ทั้งนี้เป้าหมายของการจัดสภาพแวดล้อมจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเด็กที่แต่ละโรงเรียนได้กำหนดขึ้น
จากทัศนะดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้นเป็นการดำเนินงานของบุคคลที่เกี่ยวกับการจัดเนื้อที่ วัสดุ อุปกรณ์ มวลประสบการณ์ ตลอดจนความสัมพันธ์ของบุคคลในสถานพัฒนาเด็กที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาเด็กตามที่กำหนดไว้
แนวคิดพื้นฐานในการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญหลายประการที่ต้องนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาเด็ก แนวความคิดที่สำคัญได้แก่ แนวความคิดในการจัดสถานศึกษา แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และแนวความคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกที่มีต่อสภาพแวดล้อม
1. แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดศึกษากับการจัดสภาพแวดล้อม การจัดการศึกษาปฐมวัยได้ยึดแนวคิดของผู้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเด็กกับการศึกษาระดับปฐมวัยหลายท่าน
รุสโซ มีแนวคิดว่าเด็กจะเรียนจากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติและเชื่อว่าการศึกษาโดยธรรมชาติเกิดจากสามแหล่งด้วยกันคือ ธรรมชาติ ผู้คน และสิ่งของ ดังนั้นการเรียนด้วยการสำรวจสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายต่อการเรียนของเด็ก
เฟรอเบล มีความเชื่อการเล่นเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะเด็กทุกคนมีความสามรถอยู่ภายใน เด็กจึงควรได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง โรงเรียนสำหรับ เด็กควรมีสภาพคล้ายบ้านและฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต ค้นหาความจริงจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สภาพแวดล้อมสำหรับเด็กควรจะเป็นธรรมชาติ มอนเตสเซอรี่ มีความคิดแตกต่างจากเฟรอเบล บ้างเล็กน้อย มอนเตสเซอรี่มีแนวความคิดว่าการจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์ให้เด็กควรให้เสรีภาพในการแสวงหาความรู้ และเป็นไปด้วยความสมัครใจ และควรคิดถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อมที่จัดให้เด็กคำนึงถึงความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
ดิวอี้ เชื่อว่า การศึกษาควรมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็ก มิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิตในอนาคต เด็กควรเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ มีโอกาสเลือกกิจกรรมด้วยตนเอง และเรียนจากประสบการณ์ตรงและการทดลอง
กีเซลล์ ( Gessell ) เชื่อว่าสภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก ซึ่งพัฒนาการของเด็กนั้นเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้าน
เพียเจต์ มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กว่าพัฒนาการแต่ละขั้นจะมีลักษณะบ่งชี้ถึงความปกติของพัฒนาการแต่ละขั้นนั้นๆ เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะแต่ละด้าน วิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน และวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการเล่นและสิ่งที่เป็นรูปธรรมสภาพแวดล้อมที่จัดในสถานศึกษาจึงต้องมีหลากหลาย
จากแนวความคิดของนักการศึกษาที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้แก่เด็กและการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยต้องยึดหลักการและแนวความคิดของนักการศึกษา กล่าวคือ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยต้องยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กได้มีเครื่องเล่น ใช้การเล่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ของเด็ก สภาพแวดล้อมที่จัดควรเป็นสภาพแวดล้อมที่ให้ประสบการณ์ตรง และให้เสรีภาพในการแสวงหาความรู้ตามความสามารถและความแตกต่างของแต่ละบุคคล
2. แนวความคิดเกี่ยวกับพัฒนาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อม
พัฒนาการเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิต่อเนื่องไปตลอดชีวิต พัฒนาการของคนแต่ละด้านเป็นไปตามลำดับขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ได้พัฒนาไปแล้วจะเป็นพื้นฐานของขั้นตอนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น พัฒนาการแต่ละด้านของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของชีวิตนั้น แม้จะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ แต่ในพัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฎีเฉพาะอธิบายได้ แนวในการจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาปฐมวัยต้องพิจารณาถึงทฤษฎีพัฒนาการเด็กด้วยจึงต้องจัดจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย
2.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางกาย กีเซล (Gesell) อธิบายถึงพัฒนาทางกายที่มีรูปแบบที่แน่นอนและเป็นไปตามลำดับขั้น สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยส่งเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก กีเซลเน้นถึงการเติบโตและลักษณะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้แบบแผนและขั้นตอนพัฒนาการจะเหมือนกัน พัฒนาการของเด็กเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้าน ทั้ง ร่างกาย จิตใจ ดังนั้น การพัฒนาของเด็กจึงต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทุกด้าน ทฤษฎีพัฒนาการทางกายของ กีเซลมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กในปัจจุบัน เพราะในสถานศึกษาปฐมวัยจะจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรมให้แก่เด็กโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน
2.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งมนุษย์จะซึมซับประสบการณ์และมีการปรับตัวและปรับโครงสร้างทางสติปัญญาเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งโครงสร้าง ของสติปัญญาในอินทรีย์ต้องมีการปรับโครงสร้างให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับ บรูเนอร์ (Bruner) ได้แสดงความคิดเห็นตรงกับเพียเจต์ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ การเรียนรู้จะพัฒนาได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของทั้งสองท่าน การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ว่า การจัดสภาพแวดล้อมต้องจัดให้เด็กได้กระทำ สัมผัสด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กคิดจินตนาการ เกิดการเรียนรู้ และเริ่มเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่สัมพันธ์กันจนเกิดเป็นความคิดรวบยอดของสิ่งนั้น ๆ ที่เด็กได้พบเห็น
2.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ ทฤษฎีนี้ ออสูเบล (Ausubel) เห็นว่าเด็กมีอารมณ์ 2 ประเภท คือ อารมณ์ดีและอารมณ์ไม่ดี อารมณ์ของเด็กทั้งสองประเภทเกิดได้จากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งการพัฒนาด้านนี้จะมีผลต่อเนื่องไปถึงบุคลิกภาพของเด็ก
2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม สังคมและบุคลิกภาพ ทฤษฎีพัฒนาการจริยธรรม สังคม และบุคลิกภาพ มีบุคคลที่ให้แนวทางเกี่ยวกับทฤษฎีเหล่านี้คือ ฟรอยด์ (Freud) อิริคสัน (Erikson) และดิวอี้ (Dewey) ทั้งสามท่านกล่าวถึงการจัดสภาพแวดล้อมมีบทบาทในการพัฒนาเด็กเป็นอย่างมาก เด็กจะเรียนรู้สภาพแวดล้อมการกระทำของเด็กเอง การเรียนรู้และประสบการณ์ที่เด็กได้จากสภาพแวดล้อมจะมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะเด็กกำลังอยู่ในวัยที่รับรู้มีการเรียนแบบ ดังนั้นสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จะมีผลต่อการพัฒนาทางจริยธรรม สังคม และบุคลิก-ภาพของเด็กเป็นอย่างมาก
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม จากการกำหนดนิยามของนักจิตวิทยาว่า “การเรียนรู้” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลเนื่องจากการได้รับประสบการณ์หรือการฝึกฝน พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ควรเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างถาวร และจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ได้
จากความหมายนี้ข้อความที่ระบุว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์ประสบการณ์ในที่นี้ได้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เกิดตามธรรมชาติหรือตามสภาพที่ถูกจัดขึ้น
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาได้สรุปไว้มี 4 กลุ่มสำคัญ คือ กลุ่มปัญญานิยม กลุ่มมนุษย์นิยม กลุ่มพฤติกรรมนิยม และกลุ่มผสมผสานกลุ่มนักจิตวิทยา ทั้งสี่กลุ่มมีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้แตกต่างกันในแต่ละแนวคิดซึ่งในที่นี้แนวคิดของกลุ่มปัญญานิยม และพฤติกรรมนิยมมีบทบาทเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดสภาพแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งจะอธิบายสั้น ๆ ดังนี้
กลุ่มปัญญานิยม ซึ่งนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ บรูเนอร์ (Bruner) และออสูเบล (Ausubel) ซึ่งเชื่อกันว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาที่บุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรมการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกให้มากที่สุด และครูควรจัดสภาพการณ์ต่าง ๆ เพื่อเอื้อให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือวัตสัน (J. B. Watson) ธอร์นไดค์ (Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F. skinner) นักจิตวิยาเหล่านี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากการได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
จะเห็นได้ว่ากลุ่มนักจิตวิทยาปัญญานิยมและกลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สถานศึกษาปฐมวัยจึงควรพิจารณาจัดสถานศึกษาที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่เด็กโดยจัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจเด็กและบุคคลให้มาสถานศึกษา
4. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม จิตสำนึกในเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องปลูกฝังให้แก่เด็กปฐมวัย การที่จะสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กได้ ครูควรต้องเข้าใจในเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ความหมายของจิตสำนึก และการสร้างจิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม
4.1.1 ความหมายของจิตสำนึก คำว่า “จิตสำนึก” หมายถึง ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530) จิตสำนึกที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมจึงพอสรุปความหมายสั้น ๆ ได้ว่าเป็นภาวะจิตสำนึกที่สามารถตอบสนองต่อการจัดสภาพแวดล้อมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.1.2 การสร้างจิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อม จิตสำนึกของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ และครูผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา ควรปลูกฝังและสร้างความรู้สึกและภาวะจิตที่ดีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้แก่เด็ก เช่น วิธีการดูแลรักษาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การถนอม การใช้ และ การจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงามเป็นระเบียบ ไม่เป็นผู้ทำลาย และดูแลรักษาไม่ให้ถูกทำลาย การสร้างจิตสำนึกของเด็กต้องอาศัยระยะเวลา ความสม่ำเสมอ และมีต้นแบบที่ดี ในการสร้างจิตสำนึกมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นนี้ครูต้องทำให้เด็กมองสิ่งรอบ ๆ ตัวและตัวเด็กเองว่า สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและตัวเด็กเองมีความสำคัญ เช่น ถ้าเด็กเห็นว่าห้องเรียนสกปรกจะทำให้ตัวเด็กสุขภาพไม่ดี ไม่สบายตาหรือสบายใจแต่ถ้าห้องเรียนสะอาด เขาจะมีความสบายตาสบายใจและมีผลทำให้เขามีสุขภาพดี
2) ขั้นให้ความรู้ ขั้นนี้ครูควรให้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบที่เขามีต่อสภาพ- แวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย แนวทางในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งขั้นนี้ครูควรให้เด็กเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเด็ก
3) ขั้นสร้างเสริมเจตคติ การสร้างเสริมเจตคติสามารถทำได้โดยการสร้างค่านิยมในการใช้อุปกรณ์ เครื่องเล่นในสถานศึกษาอย่างประหยัด สร้างนิสัยให้เด็กเกิดความรู้สึกรับผิดชอบ รู้ผิดชอบชั่วดี โดยการให้เด็กเห็นตัวแบบที่ดีและฝึกปฏิบัติจริง เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กควรทำหลาย ๆ วิธี และทำอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการย้ำและปลูกฝัง ทั้งนี้การปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะ ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัยด้วย
จากความหมายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาและแนวคิดพื้นฐานในการจัดสภาพแวดล้อมพอสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ว่า ในการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กครบทุกด้าน สภาพแวดล้อมควรเป็นสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นเด็ก จูงใจเด็ก และการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่จะส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กครบทุกด้านนั้น นักการศึกษา นักจิตวิทยาที่สำคัญหลายท่านเน้นความสำคัญของการเรียนรู้ว่าเด็กจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้นั้น สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่จัดให้เด็กต้องยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สภาพแวดล้อมที่จัดให้ประสบการณ์ตรงและจึงใจเด็กให้เด็กอยากเรียนรู้ เมื่อเด็กอยากเรียนรู้ เด็กจะอยากมาสถานศึกษา นอกจากนั้นสิ่งที่สถานศึกษาขาดไม่ได้คือการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เด็กเกิดความรู้สึกที่จะช่วยจัดสภาพแวดล้อม ดูแลสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบสวยงาม ถนอมดูแลและใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องเล่นอย่างถูกวิธี และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ตลอดจนดูแลรักษาไม่ให้ถูกทำลาย
ความสำคัญในการจัดของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิต เริ่มจากการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ แวดล้อมรอบตัวและขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ นักจิตวิทยาด้านเด็กเชื่อว่าประสบการณ์ในวัยเด็กมีอิทธิพลต่อชีวิตในอนาคตของเด็กอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดและบุคลิกภาพ แนวความเชื่อของนักการศึกษาด้านเด็กต่างมีความเชื่อที่เป็นความเห็นที่สอดคล้องกันที่เห็นว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ ซึ่งทำให้เด็กได้ประสบการณ์ตรงเรียนรู้ผ่านสื่อ วัสดุที่เป็นรูปธรรมไปสู่การเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจเด็กจะเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม ฮอลล์ (Hall) และดิวอี้ นักปรัชญาทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้มีความเห็นพ้องกันว่า สิ่งที่เด็กจะได้เรียนในสถานศึกษาจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเด็ก และผลจากการศึกษาของฮอลล์ เองก็พบเช่นเดียวกันนั้นคือ เด็กจะสนใจเรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็กมากกว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่คิดเอาเองว่าเด็กควรได้เรียนอะไร ดิวอี้สนับสนุนผลของการศึกษาของฮอลล์ โดยระบุว่าการศึกษาเริ่มต้นจากการที่เด็กแต่ลำคนได้ทำกิจกรรมได้เล่น ซึ่งทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ของตนเอง เด็กคนใดไม่ได้ทำกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะไม่ได้รับประสบการณ์ ฉะนั้นการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก ในฐานะที่เป็นแหล่งที่ให้การเรียนรู้แก่เด็ก นักการศึกษาในปัจจุบันมีความเห็นที่สอดคล้องกันโดยระบุว่าเด็กเป็นผู้กระทำที่กระตือรือร้น และเชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดด้วยวิธีการเดียวกันนั้นคือ การได้ปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านวัตถุและกับบุคคล ซึ่งความเห็นนี้ พ้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของเพียเจย์ ที่ระบุว่า เด็กเป็นผู้เรียนที่เป็นผู้กระทำอย่างกระตือรือร้น มิใช่เป็นผู้รับ ฉะนั้นในสถานพัฒนาเด็กจะต้องพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น กับสิ่งของ และกรับวนการต่าง ๆ ร่วมทั้งให้เด็กปฏิสัมพันธ์กับกรับวนการต่าง และโปรแกรมในสถานพัฒนาเด็กจะต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม ประจำวันให้เด็กพัฒนาทั้งร่างกาย และสังคม ทั้งนี้โดยการเตรียมสื่อ วัสดุที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เด็กกิดกระบวนการคิด ให้เด็กได้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและกระบวนการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้นักจิตวิทยาด้านบุคลิกภาพเองก็หึความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อบุคลิกภาพของเด็กด้วย เช่น อิลิคสัน (Erikson) ได้ระบุว่า เด็กวัย 3-5 ปี เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าหากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เด็กจะพัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความคิดริเริ่ม แต่ถ้าสภาพแวดล้อมที่เด็กเผชิญอยู่ ไม่เหมาะสม เด็กก็จะเกิดความขับข้องใจ มองโลกในแง่ร้ายและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ดั้งนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นแนวความเชื่อที่นักการศึกษาด้านเด็กมีความเห็นที่สอดคล้องกัน และต่างเห็นความสำคัญว่าในสภาพที่เด็กต้องเผชิญอยู่ทั้งที่บ้าน ที่สถานพัฒนาเด็ก และสังคมโดยรอบเด็กควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กได้พบปฏิสัมพันธ์ด้วย อันจะเกิดผลดีกับเด็กเป็นอย่างมาก
จากการวิจัยของบลูม ( Bloom) เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่จัดให้เด็ก มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็กปฐมวัยในเรื่องต่อไปนี้
1.บุคลิกต่าง ๆ ของเด็กจะคัดสรรและพัฒนาอย่างรวดเร็ว บุคลิกของเด็กจะถูกฟอร์มโดยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในวัยปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงอายุที่มุกอย่างจะถูกฟอร์มได้อย่างรวดเร็ว
2. พัฒนาการในวัยเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานของพัฒนาการขั้นต่อไป ซึ่งสภาพแวดล้อมมีส่วนพัฒนาเป็นอย่างมาก
3. การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า การที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่มาแทนที่เพื่อกำจัดพฤติกรรมการเรียนรู้เดิมหรือพฤติกรรมเก่า
จากแนวคิดที่กล่าวมา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กในทุก ๆ ด้าน ซึ่ง อารมณ์ สุวรรณปาล ได้สรุปถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กดังนี้
1. ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้รับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส
2. ช่วยฝึกนิสัยเด็กให้มีนิสัยที่ดี ในการอยู่ร่วมกับเพื่อน เล่นและทำงานด้วยกัน ซึ่งเป็น
พื้นฐานในการอยู่ในสังคมต่อไป
3. ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดอยากรู้อยากเห็น ค้นคว้า ทดลอง ช่างสังเกต คิดหาเหตุผล ซึ่งทำให้เด็กคิดเป็นทำเป็น
4. ช่วยขยายประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน คือร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา
ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่จัดอย่างเหมาะสมจะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและกิจกรรรมภายในสถานพัฒนาเด็กให้เป็นไปอย่างราบรื่น เด็กและบุคลากรที่อยู่ภายในสถานพัฒนาเด็กจะใช้ชีวิตอยู่ในสถานพัฒนาเด็กด้วยความรู้สึกมีความสุข อันจะทำให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
จุดมุ่งหมายของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
สถานศึกษาปฐมวัยเป็นสถานที่จัดสภาพแวดล้อมให้แก่เด็ก เล่น กิน นอนและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัย และเกิดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีนักการศึกษาได้ให้ข้อคิดไว้หลายท่านดังต่อไปนี้

เบญจา แสงมลิ (2531) ได้แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมดังนี้
1. สร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา
2. อำนวยความสะดวกให้แก่เด็กปฐมวัย ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างความสวยงาม มีระเบียบ ดึงดูดความสนใจของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
4 . สนองจุดมุ่งหมายของการศึกษาระดับปฐมวัย
ทั้งนี้หลักการจัดสภาพแวดล้อมนั้นจะต้องตอบสนองจุดมุ่งหมายใน 2 ประการ
คือเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นและเพื่อพัฒนาเด็กในสภาพแวดล้อมนั้น ไปในวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในการจัดสภาะแวดล้อม ที่จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2523) ได้กล่าวถึงจุดประสงค์สร้างความอบอุ่นมั่นใจ สนใจมาโรงเรียนและอยากมาโรงเรียน
สำหรับในเรื่องนี้สามารถสรุปได้ว่าจุดประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยจัดไว้มี 6 ประการ ดังนี้
1. เพื่อเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา
2. เพื่อให้ความสะดวกให้แก่เด็กปฐมวัย ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาปฐมวัย
3. เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กเกิดความอบอุ่น มั่นใจ สนใจ รักและอยากมาสถานศึกษา
4. เพื่อช่วยผ่อนแรงและประหยัดเวลาแก่ครูในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
5. เพื่อช่วยตกแต่งสถานศึกษาให้สวยงามทำให้สถานศึกษาน่าสนใจ
6. เพื่อส่งเสริมสัมพันธ์ภาพระหว่างบ้านและสถานศึกษาปฐมวัย
จุดประสงค์ทั้ง 6 ข้อ เป็นจุดประสงค์ที่สำคัญถ้าพิจารณาแล้วการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีจุดมุ่งเน้นที่จะจัดเพื่อให้สอดคล้องกับต้องการความสนใจของเด็กเป็นหลักและเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและถ้าการจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาปฐมวัยที่มุ่งหมายอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรและผู้ปกครองจะทำให้สร้างเสริม สัมพันธ์ภาพที่ดีของสถานศึกษาและผู้ปกครองซึงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
ขอบข่ายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
การที่เด็กจะเจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูและการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะสถานศึกษาปฐมวัยเท่านั้น เนื่องจากสถานศึกษาปฐมวัยเป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่รับภาระของพ่อแม่ที่บ้านไว้ที่สถานศึกษา สถานศึกษาปฐมวัยจึงต้องเป็นสถานที่ที่สามารถปูพื้นฐานให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดีในร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดสภาพแวดล้อมที่จะพัฒนาเด็ก มีผู้กล่าวถึงขอบข่ายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ( 2529: 29) ได้จำแนกสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยไว้ในเอกสารชุดอบรมบุคลากรทางการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษา หน่วยที่ 6 การจัดประสบการชั้นเด็กและการศึกษาดูงาน ว่ามีขอบข่ายที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียน สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางบุคลากร โดยมีรายละเอียดในแต่ละส่วนคือ
1. สภาพแวดล้อมในห้องเรียน ได้แก่ การจัดห้องเรียนให้มีที่เล่นในรูปมุมเล่นและของเล่น และที่ทำกิจกรรม การ จัดเครื่องประเภท โต๊ะ เก้าอี้ ให้มีขนาดเหมาะกับเด็ก และจัดในรูปของการเล่นเป็นหมู่ กระดานป้ายสำหรับติดผลงานของเด็ก
2. สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนในส่วนที่เป็นที่ร่ม ให้มีที่เล่นน้ำพร้อมอุปกรณ์การเล่น ที่เล่นบล็อกกลวงมุมช่างไม้ บ่อทราย และสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในส่วนที่เป็นกลางแจ้งให้มีเครื่องเล่นสนาม บ้านตุ๊กตา
3. สภาพแวดล้อมทางบุคลากร ได้แก่ ครูประจำชั้น ผู้บริหาร ครูอื่น ๆ และนักการภารโรงซึ่งบุคคลเหล่านี้จะอยู่ใกล้ชิดกับเด็กและมีส่วนที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก บุคลากรที่อยู่กับเด็กจึงควรเป็นผู้ที่มีกิริยาวาจาดี โดยเฉพาะครูประจำชั้นจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาครบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา
บุญเยี่ยม จิตรดอน และราศี ทองสวัสดิ์ (2532) ได้แบ่งข่ายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยไว้ 3 ประการคือ
1. สภาพแวดล้อมที่เป็นบุคลากร
2. สภาพแวดล้อมที่เป็นสถานที่
3. สภาพแวดล้อมที่เป็นสื่อ
1. สภาพแวดล้อมที่เป็นบุคลากร สภาพแวดล้อมที่เป็นบุคลากรในสถานศึกษาปฐมวัยที่สำคัญมีหลายกลุ่มแต่ที่สำคัญคือ ครู พี่เลี้ยง ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ
1.1 ครู เป็นสภาพแวดล้อมสำคัญที่สำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเด็กจะมีเจตคติที่ดีต่อสถานศึกษา รักเพื่อน รักครู มีสังคมนิสัยดี บุคลิกภาพที่ดีขึ้นอยู่กับครูปฐมวัยนั้นเอง ครูจัดเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็กที่สุด ดังนั้น ครูควรเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับเด็กทั้งกาย วาจา และจิตใจ นอกจากการเป็นต้นแบบแล้วครูต้องมีบทบาทอีกประการหนึ่งคือ จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนให้ดึงดูดความสนใจเด็ก กระตุ้นให้เด็กอยากมา สถานศึกษา อยากเรียนรู้และอยากเล่นอยู่กับเพื่อน โดยการจัดหาเครื่องตกแต่ง สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเหมาะสมสวยงาม
1.2 พี่เลี้ยง เป็นบุคลากรที่เป็นสภาพแวดล้อมของเด็กปฐมวัยที่มีความสำคัญต่อเด็กเหมือนกัน ซึ่งพี่เลี้ยงมีส่วนช่วยเหลือทั้งตัวครูและเด็ก รวมทั้งเป็นผู้ช่วยครูที่คอยจัดเตรียมสิ่ง ๆ ตามที่ครูจัดทำ
1.3 ผู้บริหารเป็นผู้สนับสนุนครู และประสานงานระหว่างครู และบุคลากรอื่น ๆ ผู้บริหารต้องเป็นต้นแบบที่ดี และมีความเชื่อ ตลอดจนมีนโนบายที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก นอกจากนั้นความมีจิตสำนึกในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายยังมีส่วนสำคัญในการที่จะจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเป็นไปเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต พัฒนาการและการให้การศึกษาแก่เด็ก
1.4 เจ้าหน้าที่อื่น ๆ เป็นบุคลากรที่เป็นสภาพแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นต้นแบบที่ดีแก่เด็ก มีความรัก มีความเอาใจใส่ และเห็นความสำคัญของเด็กเช่นกัน เพราะถ้าบุคลากรในส่วนนี้บกพร่องไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจัดเป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญในสถานศึกษาเช่นเดียวกัน
2. สภาพแวดล้อมที่เป็นสถานที่ เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่าๆ กับบุคลากร สถานที่จะสวยงาม เรียบร้อย สะอาดถูกสุขลักษณะ หรือมีวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนครุภัณฑ์ครบถ้วนเพียงพอกับเด็ก เป็นสิ่งสำคัญที่สถานศึกษาจำเป็น ต้องจัดให้แก่เด็ก เพราะสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสถานที่แห่งแรกที่แยกเด็กจากพ่อแม่และบ้าน
สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเป็นสภาพแวดล้อมที่ใหม่ แปลกตา เด็กไม่มีความคุ้นเคย ดังนั้น สถานศึกษาจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมที่สร้างความสนใจและดึงดูดใจให้เด็กอย่างมาก สภาพแวดล้อมที่เป็นสถานที่ ในที่นี้หมายถึง ห้องเรียน อาคารอื่น ๆ อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียน ซึ่งขนาดของห้องและอาคารตลอดจนแบบแปลงต้องเป็นไปตามเกณฑ์ฐานของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดหรือว่าดีกว่า
3. สภาพแวดล้อมที่เป็นสื่อ สื่อ เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยตรง เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์ตรง วัสดุอุปกรณ์ และสื่อประเภทต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่สถานศึกษาต้องจัดไว้อย่างหลากหลายทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน สื่อในที่นี้รวมถึงเกมต่าง ๆ วัสดุอุปกรณ์ภายนอกห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก และครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ประจำในห้องเรียน
การแบ่งขอบข่ายของสภาพแวดล้อมสถานศึกษาปฐมวัยอาจแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ ถ้าแบ่งตามพื้นที่จะแบ่งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ถ้าแบ่งตามลักษณะทั่วไป สภาพแวดล้อมจะแบ่งเป็น สภาพแวดล้อมที่เป็นบุคลากร สภาพแวดล้อมที่เป็นสถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เป็นสื่อ
สำหรับผู้เขียนมีแนวความคิดว่า ในการแบ่งสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยโดยยึดตัวเด็กปฐมวัยเป็นหลัก และบุคลากรอื่น ๆ เป็นตัวตาม สามารถแบ่งขอบเขตสภาพแวดล้อมได้เป็น 3 ประการคือ
1. สภาพแวดล้อมที่เป็นสื่อ
2. สภาพแวดล้อมที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก
3. สภาพแวดล้อมที่เป็นอาคารและสถานที่
บทที่ 2
การศึกษาสังเกตการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
ในสถานฝึกปฏิบัติวิชาชีพครู
1. สภาพแวดล้อมภายในอาคาร
1.1 การจัดห้องต่างๆภายในโรงเรียน
ณรงค์ บุญมี (2522 : 2 -5 ) ได้เสนอแนะในการจัดห้องเรียนไว้ดังนี้
1.1.1 ห้องควรมีขนาดกว้างขวาง มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 63 ตารางเมตร อัตราส่วนจำนวนเด็กต่อพื้นที่ควรเป็น 1 คนต่อ 35 ตารางฟุต เป็นอย่างน้อยเพื่อสะดวกในการดัดแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ รับประทานอาหาร นอน หรือเล่นเกม
1.1.2 เพดานห้องมีผ้าบุ อยู่สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร เพื่อให้โปร่งอากาศ ถ่ายเทได้ดี
1.1.3 มีหน้าต่างมากพอที่จะมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ระดับความสูงของขอบล่าง หน้าต่างอยู่ในระดับที่ปลอดภัย เด็กปีนป่ายไม่ได้ และอยู่ในระดับที่เด็กมองเห็นทัศนียภาพภายนอกได้ด้วย
1.1.4 ประตู มีประตูห้องละ 2 ประตู บานประตูสามารถปิดล็อกได้ และควรอยู่ในทิศทางที่จะออกไปสู่สนามได้สะดวก ตามเกณฑ์มาตรฐานควรมีเนื้อที่ประตู หน้าต่าง และช่องแสงภายนอกไม่น้อยกว่าหนึ่งในแปดของพื้นที่ของห้อง
1.1.5 มีช่องระบายอากาศเหนือประตูและหน้าต่าง
1.1.6 มีดวงไฟที่ให้แสงสว่างได้เพียงพอ
1.1.7 ผนังห้อควรใช่ไม้เนื้อแข็ง หรือใช่วัสดุเนื้อนุ่มเพื่อป้องกันเสียงสะท้อน
1.1.8 ผนังและเพดานห้องควรทาด้วยสีสวยงามเย็นตา
1.1.9 พื้นห้องเป็นพื้นไม้อัดแน่น เรียบเสมอกันตลอดแนว เช่น ปูปาเก้ หากเป็นพื้นปูนต้องมีเสื่อน้ำมันปูทับไว้
1.1.10 มีตู้หรือชั้นเก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก และมีชั้นวางอุปกรณ์ที่ใช้ในห้อง
1.1.11 ภายในห้องเรียนควรจัดให้มีมุมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบทบาทสมมต ฯลฯ และมีแผ่นป้ายสำหรับติดผลงานของเด็ก
จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ของ ห้องเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า การจัดห้องเรียนอนุบาลจะมีตัวอาคารที่ใช้เป็นห้องเรียนเด็กจำนวน 1 อาคาร เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกันในลักษณะวงกลม มี 2 ชั้น โดยพื้นที่สามารถที่จะเดินเข้าหากันได้ ชั้นที่ 1 เป็นชั้นเรียนของเด็กอนุบาล 1 จำนวน 5 ห้องและมีห้องเรียนอนุบาล 2 อีกจำนวน 3 ห้อง ชั้นที่ 2 เป็นชั้นเรียนของห้องอนุบาล 2 จำนวน 2 ห้อง และห้องเรียนอนุบาล 3 จำนวน 5 ห้องเรียนทุกห้องจะมีห้องน้ำในตัว โดยห้องเรียน 2 ห้องจะใช่ห้องน้ำร่วมกัน ห้องเรียนจะมีอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ลมเย็น จะติดเครื่องปรับอากาศห้องละ2 ตัว และจะติดพัดลมเพดาน มีไฟให้แสงสว่าง ตรงกลางของห้อง จะมีพื้นที่กว้างขวางเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรม มีการจัดมุมต่าง ๆ อยู่รอบห้อง และมีชั้นเก็บของส่วนตัวของเด็กอยู่ที่มุมด้านหลังห้อง มีห้องน้ำแยกเป็นสัดส่วน มีอ่างล้างมือ และชักโครกขนาดเล็กเหมาะสมกับตัวเด็ก ห้องเรียนต่าง ๆ จะตกแต่งด้วยตัวการ์ตูน สัตว์ ดอกไม้ และทาสีตัวอาคารด้วยสีสันที่สดใส มีป้าย และรูปภาพเป็นตัวการ์ตูนทำให้เด็กสนใจ
ในโรงเรียนจะมีห้องสมุด 1 ห้อง แต่ห้องสมุดจะอยู่ภายนอกตัวอาหารเรียนจึงทำให้เด็กไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านหนังสือ มีห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง ห้องดนตรี 1 ห้อง สำหรับเรียนดนตรีไทย
ดังภาพที่ 1 ตัวอาคารเรียนของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ตัวอาหารเรียนของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์
ของพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตัว
อาคารเชื่อมต่อกัน ชั้นล่างจะเป็น อนุบาล 1 จำนวน 5 ห้องและมีห้องเรียนอนุบาล 2
อีกจำนวน 3 ห้อง ชั้นที่ 2 เป็นชั้นเรียนของห้องอนุบาล 2 จำนวน 2 ห้อง และ
ห้องเรียนอนุบาล 3 จำนวน 5 ตัวอาคารมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โปล่งสบาย มี
ต้นไม้ให้ร่มเงา ระหว่างกลางของตัวอาคารจะเป็นสนามหญ้าสำหรับทำกิจกรรมและ
ให้เด็กเล่น

1.2 การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
ลอร์ตัน ( Lowton . 1992 : 207 ) ได้กล่าวถึงการจัดห้องเรียนปฐมวัยว่า ห้องเรียนสำหรับเด็กจะต้องจัดให้มีบรรยากาศ แห่งการต้อนรับ อบอุ่น สว่างไสว สะดุดตา และเร้าใจเด็กให้เกิดความสนใจต่อสภาพแวดล้อมภายในห้อง ทั้งนี้จะต้องจัดเตรียมวัสดุทางการศึกษา เครื่องเรือน เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสนในจองเด็ก ขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้จะต้องมีผลต่อการสนับสนุนพัฒนาการของเด็กด้วย และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องพิจารณาถึงจำนวนเด็กกับครูที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกันด้วย เพราะจะทำให้การดูแลสนับสนุนเด็กให้ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
1.2.1 อุปกรณ์สำหรับพักผ่อน(rest or sleeping facilities) อุปกรณ์ในการพักผ่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กที่มาโรงเรียนตลอดวัน อุปกรณ์ในการพักผ่อนสำหรับเด็ก ได้แก่ ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หรือเสื้อใน การจัดอาคารสถานที่ควรมีเนื้อที่เหมาะสำหรับเด็กได้นอนพักผ่อนไม่ควรสว่างมาก เพื่อช่วยให้เด็กได้พักผ่อนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ควรเปิดเพลงเบา ๆ ขณะนอนพักให้เด็กฟัง เนื้อที่เหมาะสมสำหรับเด็กนอนพักผ่อนควรมีขนาดดังนี้
27x48 นิ้ว สำหรับเด็กอายุระหว่าง 4-5 ปี
27x52 นิ้ว สำหรับเด็กอายุระหว่าง 4-6 ปี
27x54 นิ้ว สำหรับเด็กอายุระหว่าง 4-7 ปี
บางโรงเรียนที่เด็กมาโรงเรียนแค่ครึ่งวัน ครูอาจจะพรมหรือผ้าเช็ดตัวปูให้เด็กนอนผักผ่อนในช่วงกลางวันได้
1.2.2 ตู้เก็บของและตู้ช่อง ( lockers and storager ) ตู้ช่องควรเป็นสิ่งที่เตรียมเอาไว้ให้เด็กทุกคนเพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเก็บของเข้าที่ แต่เด็กแต่ละคนควรมีที่เก็บของใช้ส่วนตัว ตู้ช่องอาจจะทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายกับการใช้ ตู้ช่องที่ให้เด็กเก็บของใช้ควรมีขนาดความสูง 35 นิ้ว ยาว 10-12 นิ้ว และลึกประมาณ 10-15 นิ้ว ควรมีตะขอสำหรับแขวนเสื้อ มีชั้นยาวประมาณ 7 นิ้วลงมาจากส่วนบนของตู้ และมีที่วางรองเท้าซึ่งสูงจากพื้นตู้ประมาณ 10 นิ้ว ตู้ช่องควรอยู่ในด้านประตูทางเข้าออก เพราะถ้าอยู่ไกลจากประตูเด็กมักจะลืมสิ่งของของตน นอกจากนี้เด็กแต่ละคนควรมีกล่องหรือกระเป๋าสำหรับใส่ของส่วนตัว ทั้งที่ตู้ช่องและกระเป๋าควรมีชื่อเด็กและสัญลักษณ์เฉพาะตัวของเด็กกำกับเอาไว้ข้างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กจำชื่อของตนเอง
ตู้เก็บของเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้เก็บวัสดุต่างๆ ซึ่งควรเป็นตู้ปิดที่ทำเอาไว้ติดผนังและสามารถนำมาใช้เป็นมุมให้เด็กทำงานหรือทำฉากกั้นห้องได้ ภายในตู้ควรมีลิ้นชัก หิ้งไว้เก็บของเล่น กระดาษ และอุปกรณ์อื่นๆเช่น กรรไกร สี ซึ่งควรจะจัดเอาไว้เป็นหมวดหมู่และแยกประเภทตามชนิด ตามหมวด เพื่อให้สะดวกแก่การนำไปใช้
1.2.3. ห้องน้ำอ่างล้างมือ และอุปกรณ์ทำความสะอาด( sanitary facilities ) อ่างล้างเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความสะอาดของเด็กภายหลังจากการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ห้องน้ำและอุปกรณ์ในการล้างมือควรจัดไว้ในห้องน้ำและนอกห้อง โดยควรมีห้องน้ำขนาดใหญ่ 1 ห้อง หรือห้องน้ำขนาดเล็ก 2 ห้อง สำหรับเด็กผู้และเด็กผู้ชายหรือสำหรับใช้ด้วยกันภายในห้องเรียยควรมีหน้าต่างและพัดลมระบายอากาศที่เหมาะสม ควรเป็น 1:5 จะเหมาะกว่า โถส้วมควรมีขนาดตั้งแต่ 10 – 13 นิ้วสูงจากพื้น และที่สำหรับล้างมือควรมีขนาด 2 – 24 นิ้ว สำหรับเด็กอายุระหว่าง 4 – 5 ปี ขนาดขงโถส้วมควรมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไปตามอายุของเด็ก อ่างล้างควรอยู่ใกล้ประตูทางออกเพราะเมื่อเด็กเข้าส้วมเสร็จจะได้ล้างมือ นอกจากนี้ภายในห้องเรียนก็ควรมีอ่างล้างมือเอาไว้ให้เด็กล้างมือหลังจากทำกิจกรรมศิลปะและกิจกรรมอื่นๆเสร็จแล้ว
ที่ดื่มน้ำสำหรับเด็กควรจัดตู้น้ำเย็นหรือที่ใส่น้ำดื่มเอาไว้ใหในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยควรมีขนาดความสูงพอที่เด็กจะกดดื่มได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรเตรียมแก้วน้ำเฉพาะตัวเด็กแต่ละคนเอาไว้
1.2.4 ระบบเสียง (Acoustics) เป็นสิ่งที่มีผลต่อคนเราทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นทางโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรจัดระบบเสียงให้เหมาะสม การเรียนการสอนภายในห้องเรียนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น เสียงเครื่องจักร เสียงยวดยานพาหนะ และเสียงอื่นๆที่ไม่พึงประสงค์ดังเข้ามาในห้องเรียน เพื่อที่จะช่วยลดเสียงต่างๆที่ไม่พึงประสงค์การใช้พรมหรือวัสดุต่างๆ กรุตามฝาผนัง พื้นห้อง หรือเพดาน อาจจะช่วยให้ระบบเสียงดีขึ้น การใช้พรมนอกจากจะช่วยลดเสียงแล้ว ยังสามารถช่วยทำให้ห้องน่าดูขึ้น หรือจะใช้เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆได้
1.2.5 ผนังห้อง (Walls) ฝาผนังห้องเป็นเนื้อที่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น ใช้ติดกระดานดำหรือป้ายนิเทศ โดยควรจัดกระดานป้ายนิเทศกับกระดานดำเอาไว้ตำแหน่งที่เหมาะสม ผนังห้องควรทำจากวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และควรทำจากวัสดุที่อ่อนที่เสียงผ่านได้น้อยและสามารถใช้เป็นที่ติดผลงานเด็กได้ด้วย ผนังห้องควรมีขนาดที่สูงไม่มากนัก และควรมีการทาสีให้แสงสว่างแก่ห้อง ห้องที่ทาสีต่างๆจะทำให้เกิดความสวยงามและให้ความรู้สึกที่ท้าทายแก่เด็กและทำให้ดูมีเนื้อที่กว้าง นอกจากนี้ยังให้ความสรู้สึกสบายๆเท่ากับท้าทายให้เด็กอยากมาโรงเรียน แต่ไม่ควรเป็นสีที่กระตุ้นเด็กมากเกินไป และยังควรเลือกใช้อุปกร์ของเล่นเป็นสีหลักๆที่เด็กชอบจะช่วยให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวาด้วย
1.2.6 พื้นห้อง (Floors) พื้นห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยควรสะอาด ใช้วัสดุที่เรียบและทำความสะอาดได้ง่าย และไม่ทำให้เกิดริ้วรอยขีดข่วนเมื่อโดนของหนัก ทั้งนี้เพราะกิจกรรมของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะทำอยู่บนพื้นห้อง ดังนั้นพื้นจึงไม่ควรมีสิงกีดขวาง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
บริเวณสำหรับรับประทานอาหาร และห้องเรียนซึ่งอาจจะใช้บริเวณเดียวกันควรเป็นบิเวณที่ทำความสะอาดได้ง่าย โต๊ะและเก้าอี้ควรเคลื่อนย้ายได้สะดวก การเตรียมอาหารและบริเวณที่ตักอาหารควรมีขนาดมาตรฐานและสะอาดถูกต้องตามหลักอนามัย
1.2.7 หน้าต่างและประตู (Windows and Doors) ประตูทางเข้าออกและหน้าต่างเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แก่เด็ก ดังนั้น บริเวณที่เป็นประตูและหน้าต่างควรได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน หน้าต่างควรมีระดับต่ำพอที่เด็กจะมองออกไปข้างนอกห้องได้ นอกจากนี้ยังมีผ้าม่าน ม่านบังตา หรือบานเกร็ด ทั้งนี้เพื่อป้องกันแสงสว่างที่อาจจะจ้ามากเกินไป
หลังคาควรมีช่วงยาวพอเหมาะที่จะให้เกิดร่มเงาที่เหมาะสม หน้าต่างควรมีขนาดเหมาะสมกับผ้าม่านหรือม่านบังตา บริเวณที่รับประทานอาหารควรใช้หน้าต่างที่เป็นบานเกร็ด หน้าต่างที่เปิดออกไปแล้วพบแต่กำแพงหรือไม่มีอะไรให้ดู ควรจัดบริเวณที่วางของเอาไว้โชว์จะดีกว่า ประตูควรมีล็อกตัวเองได้ในตัวและประตูไม่ควรมีบานบังตาที่จะตีกลับมาโดนตัวเด็กได้
1.2.8 ระบบระบายอากาศ แสงสว่าง และความร้อน (Ventilation , lighting , Heat) ระบบการระบายอากาศที่ดีที่สุด คือ การเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท แต่บางครั้งสภาพอากาศก็ไม่อำนวยให้ทำได้ หน้าต่างจึงควรสามารถปรับให้เปิด – ปิด ได้ด้วยตัวเด็ก ถ้าอากาศร้อนเกินไปควรมีพัดลมเพดานเพื่อช่วยระบายอากาศ ไฟฟ้าควรมีขนาดสูงจากพื้น 10-12 ฟุต และควรมีโป๊ะไฟเพื่อไม่เคืองตา สวิตซ์ไฟควรอยู่ระดับเอื้อมไม่ถึง แสงสว่างในห้องไม่ควรจ้าเกินไปเพราะจะทำให้เคืองตา บริเวณที่มืดควรทาสีเพื่อช่วยให้บริเวณนั้นแลดูสว่างขึ้น ความสว่างจากธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับการทำงานมากกว่าแสงไฟฟ้า
1.2.9 เครื่องเรือนหรือโต๊ะเก้าอี้ (Furniture)
- โต๊ะเก้าอี้ ควรสามารถโยกย้ายได้ ควรมีขนาดพอเหมาะกับเด็ก แลดูน่าใช้ ง่ายต่อการทำความสะอาดและใช้ได้ง่าย เครื่องใช้ที่เหมาะสมควรสามารถใช้ได้หลายๆอย่าง
- โต๊ะ ควรมีความสูงแตกต่างไปตามอายุของเด็กตั้งแต่ 15 – 22 นิ้ว โต๊ะที่มีรูปร่างต่างจะใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างมากกว่า เช่น โต๊ะเล็กๆสำหรับมุมหนังสือ โต๊ะที่วางเอาไว้ติดผนัง ฯลฯ โต๊ะควรปูด้วยฟอร์ไมก้า และความสามารถเคลื่อนย้ายได้ในโอกาสต่างๆ
- เก้าอี้ ควรมีขนาดพอเหมาะกับเด็ก และเบาพอที่เด็กจะยกและเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เกิดเสียง เก้าอี้ควรมีขนาดสูงตั้งแต่ 14 – 20 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และควรมีโต๊ะเก้าอี้ใหญ่สำหรับครูด้วย นอกจากนี้ควรมีม้านั่ง พรม เสื่อ เก้าอี้โยกย้ายเอาไว้มุมบ้าน ทั้งนี้มีบรรยากาศคล้ายบ้าน วัสดุที่ใช้ควรมีสีสันต่างๆ
- เวทีเล็กๆสำหรับให้เด็กแสดงละครหรือบทบาทสมมติ ควรมีขนาดกว้าง 3 ฟุต 6 นิ้ว ยาว 5 ฟุต และสูง 1 ฟุต จากพื้น ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการทำความสะอาด
- นาฬิกา ควรมีติดเอาไว้บนผนัง โดยมีเข็มสีดำบนหน้าปัด


จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ของโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พบว่า ในห้องเรียนนั้นจะปูพื้นด้วยกระเบื้อง ผิวเรียบ ห้องเรียนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในส่วนตรงกลางห้องจะมีบริเวณที่กว้างขวาง เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กและให้เด็ก ทำกิจกรรมได้สะดวก รอบ ๆ ของห้องจะจัดมุมประสบการณ์ไว้ 7 มุมประสบการณ์ ประกอบด้วยมุมวิทยาศาสตร็ มุมบล็อก มุมอ่าน มุมดนตรี มุมบทบาทสมมตมุมเกมการศึกษา และมุมศิลปะ บร์อดทางด้านซ้ายของกระดานหน้าห้อง จะติดดาวความดีของ เด็กทุก ๆ วัน เป็นการกระตุ้นเรื่องวินัยให้กับเด็ก ส่วนทางด้านซ้ายจะเป็นบร์ดที่จัดสำหรับหน่วยประสบการณ์แต่ละอาทิตย์เพื่อเป็นการสอดคล้องสิ่งที่จะจัดกิจกรรม ในห้องจะติดบานเกร็ดรอบห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีกระดานอยู่ที่ด้านหน้าห้อง และมีโต๊ะของครูประจำชั้นอยู่ด้านข้าง ด้านหลังมีโต๊ะและเก้าอี้ 2 ชุดวางอยู่ ประตูห้องเป็นประตู 2 บานปิดประกบกันที่จับสำหรับเปิดประตูอยู่ไม่สูงเกินไปเด็กสามารถเปิดได้ มีชั้นวางสำหรับวางของส่วนตัวของเด็ก โดยจะแยกเป็นสัดส่วนเป็นล็อกของเด็กแต่ละคน โดยในล็อกจะประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นแรก จะวาง กระเป๋า พร้อมทั้งวางหมอนนอน ชั้น ที่ 2 จะวางถุงผ้าสำหรับใส่ของส่วนตัว เช่น ชุดลำลองที่เด็กนำมาเปลี่ยนเวลาที่เสื้อผ้าเปียกหรือเลอะ ส่วนชั้นสุดท้ายจะวางรองเท้าทั้งรองเท้านักเรียน และรองเท้าแตะ ไว้รวมกัน ซึ่งในการวางรองเท้าไว้รวมกันจะทำให้เด็กหยิบยากขึ้น และจะดูไม่เป็นระเบียบเท่าไร ภายในห้องเรียนจะมีที่นอนไว้สำหรับให้เด็กนอนกลางวัน โดยจะเป็นฟูกสีแดงและผ้าปูสีเหลือง จะมีการจัดเก็บที่นอนไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ขวางทางการทำกิจกรรมของเด็ก สามารถหยิบจับได้สะดวก มีห้องน้ำด้านหลังห้อง มีอ่างล้างหน้า และชักโครกที่มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับเด็ก มีผ้าเช็ดที่ห้อยไว้สำหรับของตนเองไม่ปะปนกับเพื่อน ดังภาพ
ภาพที่ 2 : สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน



ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ภายในของห้องเรียน ตรงกลางของห้องจะมีพื้นที่ไว้สำหรับให้เด็กได้ทำกิจกรรม โดย
พื้นที่จะมีลักษณะที่กว้างขวาง สะดวกสบายในขณะที่เด็กทำกิจกรรมหรือเล่นภายใน
ห้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาพที่ 3 : ชั้นวางของส่วนตัวสำหรับเด็ก

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : มีชั้นวางสำหรับวางของส่วนตัวของเด็ก โดยจะแยกเป็นสัดส่วนเป็นล็อกของเด็กแต่
ละคน โดยในล็อกจะประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นแรก จะวาง กระเป๋า พร้อมทั้งวางหมอน
นอน ชั้น ที่ 2 จะวางถุงผ้าสำหรับใส่ของส่วนตัว เช่น ชุดลำลองที่เด็กนำมาเปลี่ยน
เวลาที่เสื้อผ้าเปียกหรือเลอะ ส่วนชั้นสุดท้ายจะวางรองเท้าทั้งรองเท้านักเรียน และ
รองเท้าแตะ ไว้รวมกัน

ภาพที่ 4 : การจัดเก็บที่นอนสำหรับเด็ก

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ในห้องเรียนเด็กทุกคนจะมีที่นอนเป็นของตนเอง โดยการจัดเก็บที่นอน จะจัดไว้ใน
ช่อง จัดวางอย่างเป็นระเบียบ เหนือขึ้นไป จะเป็นราวสำหรับไว้ห้อยผลงานของเด็ก


ภาพที่ 5 : มุมบล็อก

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : มุมบล็อกเป็นมุมหนึ่งที่อยู่ในห้องเรียน ซึ่งจะจัดบล็อกวางไว้ที่ชั้นวาง เพื่อให้เด็ก
หยิบเล่นได้สะดวก มีอุปกรณ์ที่มาประกอบในการเล่นบล็อก

ภาพที่ 6 : ดาวความดี

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ในแต่ละวันครูจะมีดาวความดีให้กับเด็กที่มีวินัย เป็นเด็กดี เช่น เก็บของส่วนตัวอย่าง
เรียบร้อย ส่งการบ้านด้วยตนเองโดยที่ครูไม่ต้องบอก สวัสดีครูเมื่อกันโดยที่ครูไม่
ต้องทักก่อน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กมีวินัยในตนเอง

ภาพที่ 7 : อ่างล้างมือสำหรับเด็ก
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ในห้องน้ำจะมีอ่างล้างมือสำหรับเด็ก ไว้ให้เด็กล้างมือ แปลงฟัน โดยอ่างจะมีลักษณะ
ที่เล็กเหมาะสมกับ เด็ก ทำให้เด็กใช่ได้อย่างสะดวก
ภาพที่ 8 : โถส้วมสำหรับเด็ก
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : โถส้วมสำหรับเด็กซึ่งขนาดและรูปรางที่เล็ก เหมาะสมกับขนาดของตัวเด็ก เพื่อให้
เด็กใช่ได้สะดวก โดยโถส้วมจะเป็นแบบชักโครก มีที่ฉีดน้ำอยู่ด้านข้าง ปูพื้นด้วย
กระเบื้องและแยกเป็นสัดส่วน มีประตูปิดกั้นระหว่างห้องน้ำกับห้องเรียน
ภาพที่ 9 : ผ้าเช็ดมือส่วนตัว
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : ทางเข้าห้องน้ำ จะมีผ้าเช็ดมือของแต่ละคนแขวนอยู่อย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้เด็กได้
เช็ดมือหลังจากเข้าห้องน้ำ โดยที่จะไม่เช็ดปะปนกัน

2. สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารเรียน
2.1 การจัดบริเวณและเนื้อที่
สมร ทองดี (2547:91) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมที่เป็นสถานที่ สถานศึกษาปฐมวัยควรมีลักษณะดังนี้
1 ที่ตั้งโรงเรียน
1.1 ที่ตั้งของโรงเรียนต้องไม่ไกลจากชุมชนมากเกินไป การไปมาสะดวก
1.2 มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น หรือควันรบกวน ทั้งอยู่ไกลจากแหล่งอันตรายต่าง ๆ
1.3 สภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับทำการก่อสร้างโรงเรียน ที่ดินจะต้องไม่มีหลุมบ่อหรือเอียงลาดชันมาก จนทำการก่อสร้างยาก ชนิดของดินจะต้องมีคุณสมบัติดูดซึมและระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมปลูกต้นไม้ง่าย
1.4 ควรมีสายเมนไฟฟ้า ประปา และท่อระบายน้ำผ่านใกล้เคียง
2 บริเวณ
2.1 โรงเรียนอนุบาลควรมีเนื้อที่กว้างพอสมควร โดยยึดหลักนักเรียน 1 คน ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
2.2 โรงเรียนอนุบาลควรมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 8 ไร่
2.3 เด็กวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โรงเรียนจึงควรมีสนามสำหรับไห้เด็กวิ่งเล่น และจัดกิจกรรมของโรงเรียน โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยนักเรียน 1 คน ต่อเนื้อที่สนาม 1 ตารางเมตร พื้นที่สนามราบเรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ ปราศจากสิ่งอันก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก
2.4 บริเวณโรงเรียนอนุบาลควรจัดตกแต่งให้มีลักษณะร่มรื่น สวยงามมีดอกไม้ประดับและไม้ที่ให้ร่มเงา บริเวณนี้มิได้เป็นสนามซึ่งสูงต่ำตามลักษณะธรรมชาติอยู่แล้ว ควรปรับพื้นผิวให้ราบเรียบแต่ปล่อยสูงต่ำและเนินธรรมชาติไว้ ควรจะมุ่งสำหรับนั่งเล่น หรือพักผ่อนบรรยากาศในโรงเรียนควรมีลักษณะคล้ายบ้าน
3 สนาม โรงเรียนอนุบาล ควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3 ไร่ การจัดสนามควรแบ่งเนื้อที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
3.1 บริเวณที่มีการปูพื้น เช่น ปูแผ่นคอนกรีต ปูอิฐ ฯลฯ ควรมีเนื้อที่ประมาณ200 ตรารางวา
3.2 บริเวณที่ติดตั้งอุปกรณ์ของเด็ก ควรมีเนื้อที่ประมาณ 200 ตรารางวา
3.3 บริเวณที่เป็นสนามหญ้า สำหรับเด็กเล่น และจัดกิจกรรมกลางแจ้งควรม
เนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่
3.4 บริเวณโรงเรียนมีความสะอาดเรียบร้อยมีทางระบายน้ำทิ้งและกำจัดขยะ
3.5 เด็กอนุบาลเป็นเด็กเล็ก ต้องมีการควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลจึงควรมีรั้วกั้นเป็นขอบเขตแน่นอน เพื่อความสะดวกในดารดูแลเด็ดและทรัพย์สินของโรงเรียน

จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน พบว่า โรงเรียนมีพื้นที่กว้างแบ่งส่วนหน้าโรงเรียนเป็นลานปูนกว้างและลานจอดรถ สนามเด็กเล่นขนาดยาว เนื้อที่ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับอาคารเรียน โรงอาหารและหอประชุม ห้องธุรการ เด็ก ๆจะ มีพื้นที่สนามหญ้าสำหรับเข้าแถวและวิ่งเล่น เนื้อที่ของโรงเรียนกว้างขวางสามารถจัดให้เด็กได้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมได้มาก ส่วนของโรงอาหารภายโรงเรียนจะจัดเป็นสัดส่วน จัดโต๊ะ เก้าอี้อย่างเป็นระเบียบมีเพียงพอต่อจำนวนของเด็ก ซึ่งโรงอาหารนั้นจะเป็นอาคารแยกออกมาจากอาคารเรียน โดยจะมีแม่ครัวคอยจัดเตรียมอาหาร และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ดังภาพที่ 10 : โรงอาหารของโรงเรียน
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : โรงเรียนได้มีการจัดเนื้อที่ของโรงอาหารไว้อย่างเป็นสัดส่วน มีโต๊ะเก้าอี้ที่เพียงพอ สำหรับเด็กและมีขนาดที่เหมาะสมสำหรับเด็กให้เด็กสะดวกในการรับประทานอาห
2.2 การตกแต่งบริเวณและเนื้อที่
จากการสังเกตการณ์การตกแต่งเนื้อที่ของโรงเรียน พบว่า ในการตกแต่งบริเวณและเนื้อที่ได้แก่ การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงา มีอาคารทางเดินเพื่อบังแดดและฝน มีไม้ดอกไม้ประดับเพื่อให้ความสวยงาม บริเวณทางเดิน บริเวณอาคารเรียนจะมีต้นไม้ให้ร่มเงา
บริเวณทางเดินและบริเวณรั้วด้านหน้าโรงเรียน มีโต๊ะม้าหิน และเก้าอี้เล็ก ตั้งไว้เรียงรายบริเวณทางเดิน และพื้นที่ ด้านหน้าโรงเรียน เพื่อให้เด็กหรือผู้ปกครองได้นั่งพัก ใต้ร่มเงาไม้ และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกสบาย มีลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา บริเวณที่นั่งไม่รก หรือมีหญ้าขึ้นสูงเกิดอันตรายแก่เด็ก ภายในรอบ ๆ ของตัวอาคารเรียนก็จะมีต้นไม้ที่คอยให้ร่มเงา มีลมพัดเย็นสบาย
ดังภาพที่ 11 : การตกแต่งบริเวณและเนื้อที่ของโรงเรียน
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : บริเวณและเนื้อที่ของโรงเรียนจะมีการตกแต่งด้วยต้นไม้ เพื่อให้ความร่มรื่น มีโต๊ะม้า
หิน และเก้าอี้เล็ก ตั้งไว้เรียงรายบริเวณทางเดิน และพื้นที่ ด้านหน้าโรงเรียน เพื่อให้
เด็กหรือผู้ปกครองได้นั่งพัก ใต้ร่มเงาไม้ และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกสบาย มีลมพัด
เย็นสบายตลอดเวลา
2.3 สนามเด็กเล่น
เยาวภา เดชะคุปต์ (2542:26) กล่าวถึง การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนว่า
การเล่นกลางแจ้ง (Outdoor Play)
การเล่นนอกห้องเรียน หรือการเล่นกลางแจ้งช่วยให้เด็กพัฒนาร่างกาย เป็นคนแข็งแรง มีสุขภาพที่ว่องไว และมีจินตนาการดี บรรยากาศนอกห้องเรียนจะให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมที่พัฒนาด้านและร่างกาย การสำรวจ การค้นพบ และการเกิดการเรียนรู้ การทำ กิจกรรมนอกห้องเรียนอาจไม่ใช่การวิ่ง การปีนป่าน เครื่องเล่นสนามเท่านั้น แต่ครูอาจจะให้เด็กวาดภาพ ปั้นดินเหนียว หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ กล่องและลังกระดาษเป็นอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่สามารถจัดไว้นอกห้องเพื่อโอกาสเด็กได้สร้างจินตนาการ หรือสร้างสรรค์ดินแดนที่เขาคิดขึ้นในจินตนาได้เอง
เนื้อที่กลางแจ้ง เนื้อที่กลางแจ้งและอุปกรณ์ควรจัดให้แก่เด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เกิดประสบการณ์หลากหลาย ถ้าห้องเรียนกับสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับอุปกรณ์ที่จัดไว้แก่เด็กเล่นได้ทั้งในห้องและนอกห้องเรียน บริเวณสนามเด็กเล่น ควรมีขนาด 7.5 ถึง 100 ตารางฟุตต่อเด็ก 1 คน เป็นอย่างน้อย ถ้าเด็กหลายกลุ่มมาใช้สนามเด็กเล่น และมีเนื้อที่จำกัด ควรจัดตารางเวลาให้เด็กแต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันมาเล่น สนามเด็กเล่นควรติดอยู่กับห้องนั่งเล่นและควรอยู่ชิดมุมใดมุมหนึ่งของอาคารเพื่อให้ครูสามารถดูแลได้ทั่วถึง บริเวณสนามเด็กเล่นได้หลายอย่าง สามารถทำความสะอาดได้ง่าย สามารถฉีดน้ำและแห้งได้รวดเร็ว และปลอดภัยจากไฟไหม้พื้นผิวของสนามไม่ควรใช้พื้นแข็งเพราะถ้าเด็กหกล้มบาดเจ็บได้ สนามเล่นดังกล่าวควรมีร่มเงา โดยปลูกต้นไม้เพื่อคลุมร่มเงา แสงสว่าง และเสียง
สนามเด็กเล่นควรมีความเป็นสัดส่วน โดยควรมีกำแพงหรือฉากกั้นเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย และครูควรดูแลอย่างใกล้ชิดขณะที่เด็กเล่น แต่ไม่ควรรบกวนขณะที่เด็กเล่นอย่างอิสระ และควรมีกำลังลมและแดดเอาไว้บ้าง บางส่วนมีมุมที่เด็กจะเล่นได้ทั้งคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มโดยไม่ห่างสายตาครูนัก ที่สนามเด็กเล่น ควรปลูกต้นไม้ประดับที่ช่วยทำให้สนามสดชื่น แต่ควรจัดเอาไว้ในบริเวณที่เด็กจะไม่เหยียบย่ำ การจัดบริเวณให้เหมาะสมช่วยลดความร้อนจากอุณหภูมิลงได้
ผิวสนามเด็กเล่นที่ดีที่สุดควรเป็นพื้นหญ้า บางส่วนของสนามควรมีบริเวณที่เป็นเนินเพื่อให้เด็กได้เล่นลื่นไถล และทั้งบริเวณควรจะให้น้ำซึมผ่านได้ดี บางส่วนของสนามควรเป็นพื้นแข็งสำหรับให้เด็กเล่นถีบจักยาน และไม่ควรมีก้อนอิฐ ก้อนหิน หรือเศษแก้ว บริเวณบ่อทรายหรือบริเวณที่จะให้เด็กขุดดินควรจะปลอดภัยจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ และควรปิดเมื่อไม่ใช้ บ่อทรายที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีตจะใช้ได้ง่ายและราคาถูกกว่าถ้าต้องการใช้นาน ๆ สนามเด็กเล่นควรมีรั้วขนาดสูงพอประมาณที่เด็กจะปีนป่ายซึ่งไม่ได้กั้นเอาไว้เพื่อความปลอดภัยบริเวณที่เป็นสนามเด็กเล่น ควรอยู่ทางทิศใต้ของอาคาร เพราะจะได้มีแสงสว่างตลอดเวลา
จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตสนามเด็กเล่นของโรงเรียนพบว่า สนามเด็กเล่นมีพื้นที่เป็นรูปตัวแอล มีของเล่นเรียงรายไว้ ทั่วพื้นที่ให้เด็กได้เลือกเล่น มีของเล่นเพียงพอกับเด็ก ในสนามเด็กเล่น เป็นพื้นทรายทั้งหมด มีเครื่องเล่น 2 ชนิด ที่เป็นพื้นหญ้า เมื่อเด็กจะเล่นเครื่องเล่นสนามเด็กทุกคนจะต้องถอดรองเท้าแตะลงไปเล่นด้วยเท้าเปล่า
ดังภาพที่ 12 : บริเวณพื้นที่ของสนามเด็กเล่น
ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : สนามเด็กเล่นจะมีลักษณะที่กว้างขวาง ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นทราย เวลาที่เด็กเล่นก็
จะถอดรองเท้าเพื่อให้เท้าได้สัมผัสกับทราย โดยสนามเด็กเล่นจะประกอบไปด้วย
เครื่องเล่น ที่วางเรียงรายอยู่

2.4 เครื่องเล่นสนาม
เยาวภา เดชะคุปต์ (2542:30) กล่าวถึง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเล่นกลางแจ้ง การเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ควรขึ้นกับวุฒิภาวะของเด็กแต่ละระดับเป็นเกณฑ์ที่มีวุฒิภาวะเขาจะสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกันแทนกันได้ในกิจกรรมต่าง ๆ แต่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใหม่และง่ายจนเกินไป ซึ่งบางครั้งเด็กมักจะใช้เครื่องเล่นที่แตกต่างไปจากผู้ออกแบบคิดไว้ เด็กเล็ก ๆ จะชอบใช้อุปกรณ์ซึ่งใช้แล้วใช้เล่า ดังนั้น อุปกรณ์ที่จัดให้เด็กเล็กจึงควรมีความง่าย เล่นได้หลายอย่าง และก่อให้เกิดการสร้างจินตนาการได้สูง
เครื่องเล่นสนามเป็นสิ่งที่ควรตั้งไว้ขอบ ๆ สนามเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และเครื่องเล่นแต่ละชิ้น ควรจัดไว้ให้ห่างกันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เครื่องเล่นแต่ละชิ้นควรสร้างและติดตั้งอย่างระมัดระวังและมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี เครื่องเล่นที่ให้เด็กปีนป่ายหรือแกว่งไกวควรใส่ทรายหรือขี้เลื่อยเอาไว้ข้างล่าง เพื่อป้องกันการเจ็บตัวเมื่อเด็กตกลงมา เครื่องเล่นสนามที่ควรจัดเอาไว้ในสนามเด็กเล่น เช่น
- ชิงช้า (Swing) ครูบางคนไม่ชอบให้มีชิงช้าในเครื่องเล่นสนาม เพราะเด็กมักจะกระโดดลงจากชิงช้า หรือติดกับที่นั่ง หรือบางทีก็วิ่งดักหน้าชิงช้า ที่เพื่อนกำลังแกว่ง ชิงช้าที่ปลอดภัยอาจจะทำจากผ้าใบหรือยางรถยนต์เก่า ๆ ผูกติดกับเชือก การวางชิงช้าที่สนามเด็กเล่น ควรจัดวางไว้ในบริเวณที่ห่างไกลจากเครื่องเล่นอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว และบริเวณข้างล่างชิงช้าควรใช้ทรายละเอียดโรยเอาไว้รอบ ๆ บริเวณ
- ไม้ลื่น (Slider) ไม้ล่นมาตรฐานควรทำด้วยเหล็กที่กันสนิม โดยมีบันไดที่ปลอดภัยขนาดของบันไดและไม้ลื่นควรสัมพันธ์กับอายุของเด็ก การวางไม้ลื่นควรให้อยู่ในสายตาครูและอยู่ห่างจากเครื่องเล่นแบบอื่น ๆ หรือให้อยู่ใกล้ ๆ กับรถไฟ บางครั้งเราอาจจะใช้สิ่งอื่นแทนไม้ลื่นก็ได้ เช่นเนินดินเตี้ยเล็ก ๆ ที่เด็กจะลื่นไถลลงมาได้เอง
- ม้าหมุน (Merry-Go-Round) ม้าหมุนเป็นเครื่องเล่นที่ให้โอกาสเด็กเล็กได้วิ่งและผลักและต้องการความสัมพันธ์ระหว่างมือและตามาก ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อ การเล่นเครื่องเล่นชนิดนี้จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

- เครื่องเล่นอื่น ๆ (Miscellaneous) เครื่องเล่นอื่น ๆ ที่ควรจัด ได้แก่ ท่อเหล็กที่ฝังในพื้นซีเมนต์ สำหรับให้เด็กปีนป่าย และ เครื่องเล่นประเภทล้อ ได้แก่ จักรยานสามล้อ เครื่องลากจูง
- บ่อทราย ให้ตั้งอยู่บริเวณที่ไม่ใช่ทางลม ขอบบ่อทรายให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร และเททรายลงไปในผิวให้หนาประมาณ 30 เซนติเมตร
- บ่อน้ำเล่น ขนาดของบ่อน้ำ ให้คำนวณกับความเหมาะสมกับพื้นที่ที่มี

จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตเครื่องเล่นสนามในบริเวณสนามเด็กเล่น พบว่าประกอบด้วยเครื่องเล่นต่าง ๆได้แก่เครื่องเล่นที่เป็นพลาสติก คือ กระดานลื่นพลาสติกมีหลังคาและทางขึ้นด้านข้างสำหรับเด็ก มีเครื่องเล่นที่เป็นเหล็ก คือกระดานลื่นที่เป็นเหล็ก ม้าหมุน ชิงช้า อุปกรณ์ในสนามจะมีทั้งที่ยังมีสภาพที่ใหม่ แต่ก็มีเครื่องเล่นบางอย่างมีลักษณะที่เก่า มีสนิมอาจจะเป็นอันตรายกับเด็กได้ เครื่องเล่นสนามบางชิ้นที่วางอยู่บนทราย ถ้าวางไม่ค่อยมั่นคง เช่นม้าหมุน เวลาที่เด็กขึ้นไปเล่นอาจจะทำให้เด็กหงายตกได้ นอกจากเครื่องเล่นสนามที่วางเรียงให้เด็กได้เล่นแล้ว สนามด้านหลังห้องธุรการ ยังมี ที่นั่งที่เก้าอี้สามารถโยกได้มีหลังคาด้านบน วางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องเล่นด้วยดังภาพ

13 : เครื่องเล่นสนาม

ที่มา : โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า
ฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ถ่ายภาพ : น างสาวศิริพร สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
กิจกรรม : เครื่องเล่นสนามที่วางเรียงให้เด็กได้เล่นมี ที่นั่งที่เก้าอี้สามารถโยกได้มีหลังคา
ด้านบน จะวางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องเล่น เพื่อให้เด็กได้นั่งพักหรือนั่งเล่น

2.5 ความปลอดภัยของสภาพภายนอกอาคาร
จากการที่ผู้ศึกษาได้สังเกตความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน พบว่า พื้นที่สนามเด็กเล่นที่เป็นทราย เหมาะสำหรับการกระโดด หรือล้มลงของเด็ก ที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายมากนักและทรายเด็กสามารถเล่น และสัมผัสได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่อาจเกิดอันตรายได้หากเด็กเล่นและกระจายเข้าตา หรืออากาศหนาวที่มีลมมาก พื้นทรายทั้งหมดอาจไม่เหมาะสมและเกิดอันตรายกับเด็กได้เครื่องเล่นบางชนิดที่ทาสีแล้วไม่คงทนหรือหลุดลอก เกิดอันตรายแก่เด็ก หากติดมือ เข้าตา หรือเด็กหยิบเข้าปาก เสี้ยน หรือตะปู ที่อยู่กับเครื่องเล่นสนามที่เป็นไม้หากเด็กเหยียบทำให้เกิดอันตรายแก่เด็กรวมถึงสนิมที่ติดอยู่กับเครื่องเล่นที่เป็นเหล็ก และเครื่องเล่นสนามที่ตั้งอยู่บนทราย หากวางอย่างไม่มั่นคงไม่เสมอเรียบกับพื้นทราย เวลาที่เด็กขึ้นไปเล่นอาจจะทำให้เอนตกลงมาได้

บทที่ 3
สรุปผลการศึกษาสังเกตการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
ในสถานฝึกปฏิบัติวิชาชีพครู
ในการจัดสภาพแวดล้อมซึ่งประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ในการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษานั้น จะมีการส่งเสริมพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาในระดับนี้ ดังที่เพียเจท์ กล่าวว่า อัตราการพัฒนาการในตัวเด็ก แต่ละคนจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมที่ได้รับและสิ่งแวดล้อมยังมีอิทธิพลต่อกระบวนการคิดของเด็ก เพราะเด็กจะเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว โดยอาศัยกระบวนการทำงานของโครงสร้างทางปัญญาการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยนั้นจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กตามแนวคิดของนักจิตวิทยา เช่น เฟรอเบล มอนเตสซอรี่ และเพียเจท์ ซึ่งให้ความเห็นตรงกันว่า เด็กเล็กๆ นั้นจะเรียนรู้โดยลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและกระตุ้นการตอบสนองของเด็กในโรงเรียนอนุบาล จึงมีการจัดสภาพแวดล้อมในลักษณะดังกล่าวทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก มีการจัดสื่อที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรง ส่วนทางด้านเนื้อหาจะจัดรวมกันในลักษณะบูรณาการเป็นหน่วยการสอน และจัดให้เด็กเรียนรู้ในรูปของกิจกรรมที่เปิดกว้าง เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้เลือกทำตามความสนใจและความสามารถ โดยกำหนดประสบการณ์ดังกล่าวลงในตารางกิจกรรมประจำวัน ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับการทำ กิจกรรมแต่ละช่วงไม่นานเกินไป และเป็นกิจกรรมหนักเบาสลับกัน ตั้งแต่กิจกรรมในร่มและกลางแจ้ง การจัดสภาพแวดล้อมดังกล่าวจึงเป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กให้เด็กได้พัฒนาในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในวัยต่อไป
นอกจากอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็กแล้ว ปัจจัยภายนอกก็คือ สภาพแวดล้อม นักจิตวิทยาด้านเด็กจึงให้ความสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นและสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะเมื่อเด็กเข้าสู่สถานพัฒนาเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาเด็กไปสู่วัตถุประส่ง ทางการศึกษาที่กำหนดไว้
จากการสังเกตและจดบันทึกสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนพบว่า ห้องเรียนมีขนาดกว้างขวาง พื้นที่ตรงกลางของห้องจะมีลักษณะที่โล่งสำหรับให้เด็กได้ทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก ซึ่งเด็กจะทำกิจกรรมที่ไม่ต้องเบียดกับเพื่อน จำนวนของห้องเรียน ครบตามจำนวนชั้นที่โรงเรียนจัด พื้นห้องจะปูกระเบื้องยางทั้งห้อง เด็กสามารถนั่ง นอน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ พื้นมีความสะอาดเพราะครูพี่เลี้ยงจะทำความสะอาดทุกวัน ภายในห้องเรียนจะมีแสงสว่างส่งผ่านอย่างเพียงพอ เนื่องจากรอบห้องจะมีบานเกร็ด จึงทำให้มีลมเข้า เย็นสบาย มีความสุขในการทำกิจกรรม ขอบด้านหน้ามีความสูงประมาณคอและไหล่ของเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถมองเห็น สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนได้ เพดานของห้องเรียนมีความสูงโปล่ง ทำให้ห้องเรียนมีอากาศถ่ายเท ผนังของห้องจะฉาบด้วยปูนแล้วทาด้วนสีครีมอ่อนทั่งห้อง ประตูห้องเป็นประตู 2 บานปิดประกบกันที่จับสำหรับเปิดประตูอยู่ไม่สูงเกินไปเด็กสามารถเปิดได้ บร์อดทางด้านซ้ายของกระดานหน้าห้อง จะติดดาวความดีของ เด็กทุก ๆ วัน เป็นการกระตุ้นเรื่องวินัยให้กับเด็ก ส่วนทางด้านซ้ายจะเป็นบร์อดที่จัดสำหรับหน่วยประสบการณ์แต่ละอาทิตย์เพื่อเป็นการสอดคล้องสิ่งที่จะจัดกิจกรรม มีชั้นวางสำหรับวางของส่วนตัวของเด็ก โดยจะแยกเป็นสัดส่วนเป็นอกของเด็กแต่ละคน โดยในล็อกจะประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นแรก จะวาง กระเป๋า พร้อมทั้งวางหมอนนอน ชั้น ที่ 2 จะวางถุงผ้าสำหรับใส่ของส่วนตัว เช่น ชุดลำลองที่เด็กนำมาเปลี่ยนเวลาที่เสื้อผ้าเปียกหรือเลอะ ส่วนชั้นสุดท้ายจะวางรองเท้าทั้งรองเท้านักเรียน และรองเท้าแตะ ไว้รวมกัน ซึ่งในการวางรองเท้าไว้รวมกันจะทำให้เด็กหยิบยากขึ้น และจะดูไม่เป็นระเบียบเท่าไร ภายในห้องเรียนจะมีที่นอนไว้สำหรับให้เด็กนอนกลางวัน โดยจะเป็นฟูกสีแดงและผ้าปูสีเหลือง จะมีการจัดเก็บที่นอนไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ขวางทางการทำกิจกรรมของเด็ก สามารถหยิบจับได้สะดวก มีห้องน้ำด้านหลังห้อง มีอ่างล้างหน้า และชักโครกที่มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับเด็ก มีผ้าเช็ดที่ห้อยไว้สำหรับของตนเองไม่ปะปนกับเพื่อน
ในส่วนของมุมประสบการณ์ รอบ ๆ ของห้องจะจัดมุมประสบการณ์ไว้ 7 มุมประสบการณ์ ประกอบด้วยมุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก มุมอ่าน มุมดนตรี มุมบทบาทสมมตมุมเกมการศึกษา และมุมศิลปะ มีการจัดมุมไว้อย่างเป็นสัดส่วน แต่จะมีมุม มุมดนตรี และมุมบทบาทสมมตมุที่วางของไว้ในชั้นวางเดียวกัน ซึ่งในขณะที่เด็กได้เข้าไปเล่นตามมุมแล้ว จะทำให้เด็กเกิดความสับสน ในการเล่น และอาจจะมีการรบกวนซึ่งกันและกันในขณะที่เล่น ได้
จากการสังเกตและจดบันทึกสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน พบว่า การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนมีการตกแต่งบริเวณและเนื้อที่ได้แก่ การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงา มีอาคารทางเดินเพื่อบังแดดและฝน มีไม้ดอกไม้ประดับเพื่อให้ความสวยงาม บริเวณทางเดินและบริเวณรั้วด้านหน้าโรงเรียน มีโต๊ะม้าหิน และเก้าอี้ยาวขนาด 1 เมตร ตั้งไว้เรียงรายเพื่อให้เด็กหรือผู้ปกครองได้นั่งพัก ใต้ร่มเงาไม้ และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกสบาย มีลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา บริเวณที่นั่งไม่รก หรือมีหญ้าขึ้นสูงเกิดอันตรายแก่เด็ก เมื่อเข้ามาในโรงเรียนด้านหน้าจะเป็นลานจอดรถ อีกด้านจะเป็นสนามเด็กเล่น พื้นของสนามเด็กเล่นนั้นจะเป็นทราย เวลาที่เด็กเข้าไปเล่นจะถอดรองเท้า เด็กจะได้สัมผัสกับพื้นทราย นอกจากนี้ยังป้องกันเวลาที่เด็กเกิดอุบัติเหตุ เช่น ล้ม ในสนามจะมีเครื่องเล่นวางเรียงรายอยู่ เครื่องเล่นจะมีทั้งอยู่ในสภาพที่ใหม่ และมีบางส่วนที่เก่ามีสนิมเกาะจึงระมัดระวังในการให้เด็กเข้าไปเล่น บริเวณทางเดินนั้นจะปูด้วยอิฐ อาคารเรียนทำด้วยปูน 2 ชั้น ตัวอาคาร จะมีลักษณะเชื่อมต่อกัน บริเวณตรงกลางของอาคาร จะเป็นสนามหญ้าสำหรับเข้าแถวและทำกิจกรรมหรือให้เด็กวิ่งเล่น ภายนอกจะมีอ่างล้างมือ ถังขยะ วางไว้ตามจุด ภายในโรงอาหารจำมีตู้น้ำดื่มสำหรับเด็กและบุคลากรในโรงเรียนโดยน้ำจะมีความสะอาดเพราะผ่านการกรองจากเครื่องกรองที่ติดตั้งไว้ ส่วน รั่วของโรงเรียน จะเป็นสัดส่วน ซึ่งจะกั้นระหว่างเด็กอนุบาลและเด็กประถม ซึ่งโรงเรียนจะอยู่ติดกัน
บรรณานุกรม
วัฒนา ปุญญฤทธิ์ . (2542). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฎพระนคร.
เยาวภา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอพีกราฟฟิกส์ ดีไซน์
นิตยา ศรีมกุฎพันุ์ (2548 ) . การจัดและบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย . คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). หลักการและแนวคิดทางปฐมวัยศึกษา. หน่วยที่ 9 – 12

Tuesday, October 21, 2008

การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 2 ปี


แผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (พื้นผิวสร้างสรรค์)

ความคิดรวบยอด
เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม
เนื้อหา
เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
กิจกรรม
1. ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2.ครูสนทนากับเด็กและให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสที่ฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
: เมื่อเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
2. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
3. ตรูให้เด็กบอกลักษณะของพื้นผิวที่เด็กได้สัมผัส
: เด็ก ๆ ค่ะสิ่งที่เด็กได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคยเห็น
สื่อ
1.กล่องอะไรเอ่ย
2.กระดาษ
3.สี
4.ลูกมะนาว
5.ลูกมะกรูด
ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1.ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับเด็กก่อนการทำกิจกรรม
2. ครูจะต้องใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ ไม่ใช่เสียงเรียบจนเกินไป
3.สื่อที่นำมาต้องอยู่ในระดับสายตาเด็กไม่อยู่ต่ำจนเกินไปเพราะทำให้เด็กมองไม่เห็น
4.ต้องให้เด็กได้เล่าสิ่งที่เด็กวาดรูป
5.ต้องเตรียมความพร้อมมากกว่านี้ก่อนทำการสอน6. ฝึกการเก็บเด็กเพราะยังเก็บเด็กไม่ค่อยอยู่

แผนการสอนกิจกรรมกลางแจ้ง (พื้นผิวสร้างสรรค์)

จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง
โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์ก่อนจากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบมาติดไว้คู่กับแผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความสะอาดร่างกาย

สื่อ
1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ควรเพิ่มการทรงตัวโดยให้มีรอยมือ
2. อธิบายขั้นตอนให้ชัดเจนเพราะเด็กยังเล็ก
3.สื่อต้องเพิ่มความแข็งแรง ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้
4.กระตุ้นให้กิจกรรมมีความน่าสนใจมากกว่านี้
5.ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรม

คู่มือการสร้างสื่อ

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษแข็งสีต่าง ๆ 6 แผ่น
2. วัสดุพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกัน
3. สังกะสี
4. แม่เหล็ก
5. หนามเตย
6. ดินสอ 1 แท่ง
7. กรรไกร 1 ด้าม
8. กาวยู่ฮู 3 หลอด
9. ไม้บรรทัดขนาด 12 นิ้ว 1 อัน
10. คัตเตอร์ 1 อัน
11.สติกเกอร์สีขาว 1 แผ่น
12. ผ้ามัน 1 ผืน
13. เข็ม ด้าย

วิธีทำกล่องพื้นผิวสร้างสรรค์
1. ตัดกระดาษแข็งทำเป็นกล่องสีเหลี่ยมลูกเต๋าโดยให้มีขนาดที่เท่ากันทุกด้าน มีขนาดด้านละ 6 เซนติเมตร ตัดให้เหมือนกันทั้ง 6 กล่องตามสีของกระดาษ
2. ประกอบกล่องโดยใช้ หนามเตยยึดตามมุมแต่ละด้านของกล่องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ
กล่อง
3. นำสังกะสี ติดที่ด้านล่างของแต่ละด้านของกล่องแล้วนำสติกเกอร์สีขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วติดทับบนสังกะสีเพื่อเป็นที่ติดแผ่นคำตอบ ติดสังกะสีทุก ๆ ด้านของกล่อง

วิธีการทำโจทย์พื้นผิวสร้างสรรค์
1. หาวัสดุที่มีพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีคุณลักษณะ นุ่ม แข็ง เรียบ และขรุขระ เช่น กระดาษทราย เศษผ้าที่มีผิวต่างกัน ปลอกหุ้มผลไม้ ไม้ เป็นต้น
2. นำพื้นผิวมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อทำเป็นแผ่นโจทย์และแผ่นคำตอบ โดยทำอย่างละ 2 ชุด
3. นำแผ่นโจทย์มาติดที่ด้านบนของกล่องเหนือแผ่นสังกะสี ติดทุกด้านแต่ แต่ละด้านพื้นผิวไม่เหมือนกัน
4. ใช่แม่เหล็กติดที่ด้านหลังของแผ่นคำตอบ
5. นำผ้ามันมาตัดและเย็บเป็นถุงที่มีที่หูรูดสำหรับใส่ แผ่นคำตอบ
คู่มือการใช้สื่อ
ชื่อสื่อ พื้นผิวสร้างสรรค์
เกมพื้นผิวสร้างสรรค์เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวสัมผัสการเปรียบเทียบพื้นผิวที่แตกต่างกัน รวมถึงพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของเด็กส่งเสริมทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กด้วย
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักพื้นผิวที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผิวเรียบ ขรุขระ นิ่ม และแข็ง


กิจกรรมเด็ก
1. เด็กแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน
2. เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวของรอยเท้า
3. เด็กนั่งแล้วกระดึ๊บถอยหลังไปข้างหน้า
4. เด็กสัมผัสพื้นผิวจากแผ่นโจทย์ที่ติดอยู่ที่กล่อง
5. เด็กสัมผัสพื้นผิวที่อยู่ในถุงผ้าแล้วนำมามาติดให้ถูกต้องตรงกับแผ่นโจทย์นั้น
6. ให้ครูตรวจสอบความเรียบร้อย


กิจกรรมครู
1. ครูอธิบายสื่ออุปกรณ์ที่ครูนำมาให้เด็กฟัง
2. ครูให้เด็กรู้จักพื้นผิวในลักษณะต่าง ๆจาก สื่อที่ครูนำมา
3. ครูอธิบายกติกาการเล่นให้เด็กเข้าใจก่อนการเล่น
4. ครูคอยดูแลความปลอดภัยในขณะที่เด็กทำกิจกรรม
5. ครูคอยตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว

กิจกรรมเสริม
กิจกรรมที่ 1
สังเกตฉันหน่อย
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม
2. ครูแจกแผ่นพื้นผิวที่ไม่ซ้ำกันให้แต่ละกลุ่ม
3. เด็กแต่ละกลุ่มสังเกตลักษณะพื้นผิวที่ได้รับ
4. ให้เด็กวิ่งไปหยิบแผ่นภาพของสิ่งของที่มีลักษณะเหมือนกับพื้นผิวของกลุ่มตนเอง
5. กลุ่มไหนหยิบได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กรู้จักการจัดกลุ่มของสิ่งของกับพื้นผิวที่ มีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
ระยะเวลาในการเล่น 30 นาที


กิจกรรมที่ 2 ต่อได้ต่อ
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. เบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูแจกกล่องพื้นผิวให้กับเด็ก
3. เด็กช่วยกันต่อกล่องขึ้นไปให้สูงที่สุดกลุ่มไหนต่อเสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรม รู้จักใช้สมาธิและการจำกัดระยะเวลาในการเล่น 30 นาที

กิจกรรมที่ 3 พื้นผิวช่วยทรงตัว
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. ครูติดพื้นผิวไว้ที่พื้น
3. ให้เด็กเคลื่อนไหวทรงตัวบนพื้นผิวที่ครูติดไว้ โดยให้สัมผัสทั้งเท้า และมือ เคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
4. กลุ่มไหนไปถึงจุดหมายก่อนเป็นผู้ชนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้สัมผัสพื้นผิว และได้เคลื่อนไหวร่างกาย
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 4 ฉันอยู่ตรงไหน
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม
2. นำคำและสัญญาลักษณ์ติดไว้ คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ โดยติดไว้ที่กระเป๋าผนัง
3. ให้เด็กสังเกตลักษณะของพื้นผิวที่มีอยู่ในกลุ่มว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
4. ให้เด็กนำพื้นผิวไปติดให้ตรงกับคำและสัญญลักษณ์บนกระเป๋าผนังให้ถูกต้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ทักษะในการสังเกต จัดกลุ่มของพื้นผิวที่แตกต่าง
ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมที่ 5 สัมผัสตรงจุด
จำนวนผู้เล่น 20 คน
วิธีการเล่น
1. ครูให้เด็กสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในห้อง
2. ครูชูป้ายลักษณะของพื้นผิว
3. ให้เด็กวิ่งไปสัมผัสสิ่งของที่อยู่ภายในห้องโดยสิ่งของนั้นจะต้องมีพื้นผิว เหมือนกับป้ายที่
ครูชูขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กได้ทักษะในการสังเกตสิ่งต่าง รู้จักระยะของการเคลื่อนที่ ระยะเวลาที่ใช้ 30 นาที

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ความคิดรวบยอด

เด็กรู้จักลักษณะของพื้นผิวที่มีลักษณะที่ต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2.เด็กสามารถอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3.เด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้
4. เด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

เนื้อหา
เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1.ครูสนทนาทักทายกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2. ครูสนทนากับเด็กแล้วให้เด็กสัมผัสแก้มเพื่อรู้จักกับพื้นผิวที่นิ่ม และสัมผัสฟันเพื่อรู้จักพื้นผิวที่แข็ง
: เมือเด็ก ๆ จับที่แก้มเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
: เมือเด็ก ๆ จับที่ฟันเด็ก ๆรู้สึกอย่างไร
3. ครูนำพื้นผิวสัมผัสซ่อนไว้ในกล่องโดยไม่ให้เด็กเห็นแล้วให้เด็กคลำพื้นผิวภายในกล่องแล้วให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้สัมผัสว่ามีลักษณะอย่างไร
: เด็กค่ะสิ่งที่เด็ก ได้สัมผัสนั้นมีลักษณะอย่างไร
4. ครูเฉลยพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่อง
5. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวชนิดต่าง ๆ
: พื้นผิวที่เด็ก ๆ ได้สัมผัสมีลักษณะแตกต่างกันไหม
: พื้นผิวแบบนี้เด็กเคยพบเห็นที่ไหนบ้าง
: มีพื้นผิวอะไรบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ที่เด็ก ๆ เคย เห็น
สื่อ
-กล่องอะไรเอ่ย
- กระดาษ
-สี
- ลูกมะนาว
-ลูกมะกรูด


ประเมินผล
1.สังเกตเด็กบอกพื้นผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันได้
2 สังเกตเด็กอธิบายลักษณะของพื้นผิวที่ได้สัมผัสได้
3. สังเกตเด็กเชื่อมโยงพื้นผิวกับสิ่งที่พบเห็นใน
ชีวิตประจำวันได้
4. สังเกตเด็กสนุกและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้เด็กสนใจ
2. สื่อที่นำมาต้องวางในระดับสายตาให้เด็กเห็นได้ชัดเจน

กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดประสงค์
1.เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้และ
การนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.เด็กสามารถใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบพื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.เด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำกิจกรรมได้
4.เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้
5.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนดได้
6.เด็กสามารถจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกันได้
7.เด็กสามารถทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมได้

เนื้อหา
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ในการเดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้ คือ รอยเท้า และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมในการทำกิจกรรมโดยเด็กทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
3.เด็กเปรียบเทียบพื้นผิวที่มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน คือ นิ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ

กิจกรรม
1.. ครูแนะนำกิจกรรมให้เด็กฟัง โดยกิจกรรมมี 3 ด่าน คือ
ด่านที่ 1 ครูให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นผิวรอยเท้ารอยเท้า ที่ครูติดไว้ที่พื้น
ด่านที่ 2 ครูให้เด็กนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอยหลัง
ด่านที่ 3 ครูให้เด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยให้เด็กสัมผัสพื้นผิวที่โจทย์
ก่อน จากนั้น ครูจะนำคำตอบใส่ไว้ที่ ถุงผ้าแล้วให้เด็กคลำ แล้วนำคำตอบ มาติดไว้คู่
กับ แผ่นโจทย์ ที่ถูกต้อง เมื่อกลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้นำกล่องมาต่อกัน
2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
3. เด็กเล่นเกมด้วยตนเอง
4. ครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเตือนก่อนหมดเวลา
5. ครูและเด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเล่นและทำความ สะอาดร่างกาย

สื่อ
1. สนาม
2. กล่องพื้นผิว
3. รูปร่างพื้นผิว รอยเท้า
4. ถุงผ้า

ประเมินผล
1.สังเกตเด็กเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการ เดินทรงตัวบนรูปร่างพื้นผิวได้
และการนั่งกระดึ๊บ ๆ ถอย หลัง
2.สังเกตเด็กใช้มือกับตาที่สัมพันธ์กันในระหว่างการหยิบ พื้นผิวมาใส่คู่กัน
3.สังเกตเด็กมีความสุข ความสนุก และตื่นเต้นในการทำ กิจกรรม
4.สังเกตเด็กปฏิบัติตามข้อตกลง
5.สังเกตเด็กทำกิจกรรมได้ตามเวลาที่กำหนด
6.สังเกตเด็กจับคู่พื้นผิวสัมผัสที่มีลักษณะเหมือนกัน
7.สังเกตเด็กทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรม

ปรับแผน
1. ครูต้องกระตุ้นให้เด็กสนใจมากกว่านี้
2. ในการทรงตัวควรเพิ่มรอยมือ เด็กจะได้เคลื่อนไหวทั้ง
ตัว
3. สื่อต้องแข็งแรงมากกว่านี้ ใช้วัสดุที่ติดแน่นกว่านี้



ภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ภาพที่ 1 เด็กสัมผัสแก้มของเพื่อน

ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับพื้นผิวที่มีลักษณะ นิ่มกับแข็ง โดยครูให้เด็กสัมผัสแก้มของตนเองเพราะแก้มมีลักษณะที่นิ่ม และให้เด็กสัมผัสที่ฟันของตนเอง เพราะฟันมีลักษณะที่แข็ง เด็กณรู้จักการสังเกตเเละเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของพื้นผิว ที่นิ่มและแข็ง



ภาพที่ 2 เด็กคลำวัตถุพื้นผิวที่ซื่อนอยู่ในกล่อง

ครูนำกล่องคำพื้นผิวออกมาแล้วซ่อนวัตถุพื้นผิวไว้ในกล่องโดยที่เด็กไม่รู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรอยู่ ครูให้เด็กได้คลำทีละคร เด็กมีสีหน้าที่สงสัย และรู้สึกตื่นเต้นเมื่อสัมผัมผัสสิ่งของที่อยู่ในกล่อง



ภาพที่ 3 ครูเฉลยวัตถุพื้นผิวที่อยู่ในกล่องง

ครูเฉลยวัตถุพื้นผิวที่ซ่อนอยู่ในกล่องว่าคืออะไร ครูเฉลยสิ่งของทีละอย่างโดยเด็ก ๆ ให้ความสนใจ และลุ้นมากว่าสิ่งของในกล่องนั้นคืออะไร สิ่งของอย่างแรก คือ ลูกมะนาว สิ่งของอย่างที่ 2 คือ ลูกมะกรูด เด็กเปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นผิวที่มีลักษณะ เรียบ ของลูกมะนาว และพื้นผิวที่มีลักษณะขรุขระ ของลูกมะกรูด

ภาพกิจกรรมกลางแจ้ง


ภาพที่ 4 เด็กเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิว

เด็กเล่นกิจกรรมในด่านแรก คือการเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิวต่าง ๆ เด็กสามารถเดินทรงตัวบนรอยเท้าพื้นผิวได้ดีทุกคน และสามารถผ่านด่านแรกไปได้ ทำให้เด็กได้พัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่ในขณะเดินทรงตัว และได้สัมผัสกับพื้นผิวในขณะที่เด็กสัมผัสบนพื้นผิวที่ที่แตกต่างกัน


ภาพที่ 5 เด็กนั่งกระดึ๊บถอยหลัง

เด็กเล่นกิจกรรมในด่านที่ 2 คือการนั่งแล้วกระดึ๊บถอยหลังไปข้างหน้าเด็ก ทุก คนสามารถทำได้โดยแข็งกันกระดึ๊บอย่างเร็ว เป็นการส่งเสริมการใช้ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของเด็ก



ภาพที่ 6 เด็กจับคู่พื้นผิวที่เหมือนกัน

ด่านสุดท้ายเด็กนั่งทำกิจกรรมพื้นผิวสร้างสรรค์ โดยการคลำพื้นผิวจากแผ่นโจทย์ที่อยู่บนกล่องพื้นผิวและเอามือล่วงไปคลำพื้นผิวที่อยู่ในถุงผ้า จากนั้น นำพื้นผิวต่อต่อให้ตรงกับแผ่นโจทย์ ให้ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกก็จะ เปลี่ยนพื้นผิวใหม่ เด็กทุกคนสามารถจับคู่ได้ถูกต้องในทุกด้าน แต่ว่าสื่อไม่ค่อยแข็งแรงทำให้แผ่นคำตอบหลุดบ่อย เด็กต่ออย่างตั้งใจเป็นการฝึกสมาธิ ส่งเสริม ความคิดของเด็กในขณะทำกิจกรรม ทำให้เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพื้นผิวมากขึ้น รู้จักการเปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นผิว